วันอาทิตย์ที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2562

อิทธิพลของสิ่งแวดล้อม


        มีความแตกต่างกันของศักยภาพทางพันธุกรรมกับการเลี้ยงดูภายใต้สิ่งแวดล้อมที่ต่างกัน ได้แก่สิ่งแวดล้อมที่ขาดแคลน สิ่งแวดล้อมปานกลางและสิ่งแวดล้อมที่อุดมสมบูรณ์มีการดูแลที่ดี ในแต่ละกรณีคือ สิ่งแวดล้อมที่อุดมสมบูรณ์ส่งผลให้มี IQ. สูง และสิ่งแวดล้อมขาดแคลนทำให้ IQ. ต่ำ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความแตกต่างของแต่ละบุคคล คนที่มีศักยภาพสูง มีความสามารถสูง เมื่ออยู่ภายใต้สิ่งแวดล้อมที่อุดมสมบูรณ์ จะพัฒนา IQ. ได้ดี แต่ศักยภาพนั้นจะลดต่ำลง ถ้าอยู่ภายใต้สิ่งแวดล้อมที่ขาดแคลน (ทำให้ IQ. ลดลง) Weisman (1966), Scarr-Salapatex (1971) จึงกล่าวได้ว่าสิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลสูง ต่อเด็กที่มี IQ. ตั้งแต่เกณฑ์เฉลี่ยขึ้นไป
          สิ่งแวดล้อมที่กำหนดศักยภาพทางเชาวน์ปัญญา ได้แก่ อาหาร สุขภาพ คุณภาพของสิ่งเร้า บรรยากาศทางด้านอารมณ์ภายในครอบครัวและชนิดของพฤติกรรมที่มีการป้อนกลับ ถ้าเด็กสองคนที่มีพันธุกรรมเหมือนกัน เด็กที่ได้รับอาหาร การกระตุ้นเร้าทางปัญญา และมีความมั่นคงทางอารมณ์ภายในครอบครัวภายใต้ภาวะทั้งก่อนคลอดและหลังคลอด จะมี IQ. สูงกว่า คะแนนในชั้นเรียนก็สูงกว่าเด็กที่ไม่ได้รับสิ่งกระตุ้นเร้าที่ดีดังกล่าว
         การศึกษานี้แสดงว่าสถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคมมีผลต่อความแตกต่างของ IQ. ในช่วงเกิดจนกระทั่งเข้าเรียน
         ในขณะนี้ยังสรุปไม่ได้ว่าระหว่างพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม อย่างไหนจะมีอิทธิพลต่อเชาวน์ปัญญามากกว่ากัน ปัญหาในขณะนี้อยู่ที่ว่าหากทำการทดลองโดยนำทารกไปเลี้ยงดูภายใต้ภาวะสิ่งแวดล้อมที่ขาดแคลนหรืออุดมสมบูรณ์เพื่อนำมาเปรียบเทียบศึกษาในงานวิจัยโดยไม่กระทบกับปัญหาจริยธรรมแล้วจะทำได้อย่างไร ?
          มีคำถามมากกว่านั้นว่า ไม่ว่าพันธุกรรม หรือสิ่งแวดล้อมที่เป็นตัวกำหนดเชาวน์ปัญญาแล้ว จะมีอย่างอื่นที่นอกเหนือไปจากนี้อีกบ้างไหมที่เข้ามามีบทบาทอย่างสูงต่อพัฒนาการทางด้านเชาวน์ปัญญาของแต่ละบุคคล และสามารถที่จะนำไปสู่ศักยภาพที่สูงขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

การวัดและประเมินผลทางการศึกษา

ความหมายของคำว่า การประเมินผล ( Evaluation)  ได้มีผู้ให้ความหมายไว้ ดังนี้             ชวาล แพรัตกุล  (2516 : 140) กล่าวว่า การประเมินผล ...