วันอาทิตย์ที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2562

การสอนแบบย้อนคิดทบทวน


           การทบทวน คือ การคิดถึงเรื่องที่เราทำไปแล้ว โดยการที่ครูได้จัดการเรียนการสอนไปแล้วจะได้ย้อนกลับทบทวนตนเองด้วยกระบวนการที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์ และต้องดำเนินไปเป็นวัฏจักรต่อเนื่อง มีการคิดพิจารณาสิ่งต่าง ๆ หลากหลาย บนพื้นฐานของค่านิยม  การปฏิบัติ การปรับปรุงและสภาพแวดล้อมในอาชีพ วัตถุประสงค์พื้นฐานก็คือ การปรับปรุงคุณภาพการเรียนการสอน สิ่งสำคัญ คือความเข้าใจในบทบาทของตนเองในเรื่อง ค่านิยม เอกลักษณ์ของอาชีพครู อีกทั้งยังช่วยให้ครูเลือกการสอนได้อย่างเหมาะสม มีความคิดสร้างสรรค์ มีความมั่นใจ มีการดำเนินการอย่างมีระบบ และใช้ข้อมูลจากการสอน การดำเนินการแบบย้อนคิดทบทวนมีประเด็นสำคัญดังนี้  1) การทบทวนตนเองหลังการสอน
2) ลักษณะการทบทวนตนเองหลังการสอน 3) การทบทวนตนเองเรื่อง ค่านิยม : การเป็นมืออาชีพ  4) การทบทวนตนเองหลังการสอนการแก้ปัญหาด้านการสอน 5) การทบทวนตนเองเพื่อปรับปรุง : การทดสอบความถูกต้องของการปฏิบัติ  6) การทบทวนตนเองเรื่องสภาวะแวดล้อม : ความร่วมมือในทางปฏิบัติ 7) การทบทวนการทำงานของตนเองในภาพรวม : การไตร่ตรอง
ข้าพเจ้าคิดว่าหัวใจของกระบวนการทบทวนตนเองและการประเมินการทำงานอยู่ที่การแลกเปลี่ยนความคิดซึ่งจะช่วยให้บุคคลและกลุ่มบุคคลตระหนักถึงความสำคัญของการทำงานร่วมกัน อันก่อให้เกิดการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงการเรียนการสอน โดยผ่านการคิดและเหตุผลที่จะควบคุมดูแลชีวิตและอาชีพของตนเอง มีจุดเน้นอยู่ที่ค่านิยม การปฏิบัติ การปรับปรุงแก้ไข และสภาวะแวดล้อมในอาชีพ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

การวัดและประเมินผลทางการศึกษา

ความหมายของคำว่า การประเมินผล ( Evaluation)  ได้มีผู้ให้ความหมายไว้ ดังนี้             ชวาล แพรัตกุล  (2516 : 140) กล่าวว่า การประเมินผล ...