วันพฤหัสบดีที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

แผนการสอนการเคลื่อนไหวสำหรับเด็กปฐมวัย


กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
(เวลา 20 นาที)
แผนการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการ
สาระที่ควรเรียนรู้  ธรรมชาติรอบตัว   หน่วย ดอกไม้
สัปดาห์ที่ 1  วันที่ 7 เดือน  กุมภาพันธ์    พ.ศ. 2562








1.มาตรฐานการเรียนรู้
มาตรฐานที่ 2 กล้ามเนื้อใหญ่ และกล้ามเนื้อเล็กที่แข็งแรงใช้ได้อย่างคล่องแคล่ว และประสานสัมพันธ์กัน
                        ตัวบ่งชี้ที่ 2.1 เคลื่อนไหวร่างกายอย่างคล่องแคล่วและทรงตัวได้ดี
มาตรฐานที่ 4 ชื่นชมและแสดงออกทางศิลปะ ดนตรี การเคลื่อนไหว   และรักการออกกำลังกาย
                        ตัวบ่งชี้ที่ 4.1 สนใจ มีความสุขและแสดงออกผ่านงานศิลปะ ดนตรีและการเคลื่อนไหว  
มาตรฐานที่ 8  อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุขและปฏิบัติตนเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
                        ตัวบ่งชี้ที่ 8.2 มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่น
มาตรฐานที่ 11 มีจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์
                        ตัวบ่งชี้ที่ 11.2  แสดงท่าทาง/เคลื่อนไหวตามจินตนาการอย่างสร้างสรรค์

2. สาระการเรียนรู้
2.1 สาระที่ควรเรียนรู้
                 -ธรรมชาติรอบตัว
            2.2 ประสบการณ์สำคัญ
                 -การเคลื่อนไหวอยู่กับที่และการเคลื่อนไหวเคลื่อนที่
                 -การแสดงปฏิกิริยาตอบโต้เสียงดนตรี
3.จุดประสงค์การเรียนรู้
            3.1 เพื่อให้เด็กสามารถเคลื่อนไหวร่างกายเป็นผู้นำและผู้ตามได้
3.2 เพื่อให้เด็กสามารถเคลื่อนไหวร่างกายตามจังหวะและสัญญาณได้
            3.3 เพื่อให้เด็กสามารถแสดงท่าทางด้วยความมั่นใจ

4.กระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
     ขั้นนำ
            4.1 เด็กและครูร่วมกันสร้างข้อตกลงโดยให้เด็กเคลื่อนไหวร่างกายไปทั่วบริเวณห้องอย่างอิสระตามเสียงฉิ่ง เช่น ถ้าครูตีแทมบูรินช้าๆ ให้เด็กเดินช้าๆ ตามจังหวะของเสียงแทมบูริน ถ้าครูตีแทมบูรินเร็วๆ ให้เด็กๆ วิ่งตามจังหวะของแทมบูริน ถ้าครูหยุดตีแทมบูริน ให้เด็กหยุดเคลื่อนไหวในท่านั้นทันที โดยขณะเคลื่อนไหวเด็ก ๆ ต้องระมัดระวังไม่ให้ชนกับเพื่อนถ้าชนเพื่อนต้องขอโทษทันที

      ขั้นสอน
             4.2. เด็กและครูร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับกิจกรรมการเคลื่อนไหวร่างกายตามคำสั่ง เช่น
                        - วันนี้ครูมีกิจกรรมให้เด็กๆทำชื่อกิจกรรมการเคลื่อนไหวร่างกายตามคำสั่ง
             4.3. เด็กและครูร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับวิธีการปฏิบัติกิจกรรมการเคลื่อนไหวร่างกายตามคำสั่ง ดังนี้
                        - ให้เด็กหาพื้นที่ส่วนตัวที่จะใช้ในการเคลื่อนไหวร่างกายขั้นพื้นฐาน
                        - ครูให้เด็กเคลื่อนไหวร่างกายอย่างอิสระโดยไม่ให้ชนกันตามจังหวะที่ครูกำหนด ดังนี้
                                    - ครูเคาะสัญญาณช้าให้เด็กเคลื่อนไหวช้าๆ
                                    - ครูเคาะจังหวะเร็วให้เด็กเคลื่อนไหวเร็วๆ
                                    - ถ้าครูเคาะจังหวะ ๒ ครั้งติดกันให้เด็กหยุดการเคลื่อนไหวในท่านั้นทันที
- หลังจากให้เด็กเคลื่อนไหวร่างกายขั้นพื้นฐานเสร็จ ครูสนทนากับนักเรียน “วันนี้ คุณครูจะพาทำกิจกรรมเคลื่อนไหวร่างกายตามคำสั่ง
- ครูอธิบายคำสั่ง และสาธิตการทำกิจกรรมการเคลื่อนไหวตามคำสั่งให้เด็กดู โดยมีคำสั่งดังนี้
ดอกไม้ตูม  ดอกไม้บาน  ดอกไม้เหี่ยว
                    - ให้เด็กเคลื่อนไหวร่างกายอย่างอิสระ เมื่อได้ยินคำสั่ง ให้เด็กปฏิบัติตามคำสั่งนั้นๆตามจินตนาการ ในขณะที่เด็กปฏิบัติกิจกรรมครูคอย ดูแลและเน้นย้ำการระมัดระวังความปลอดภัย
4.4. เด็กและครูร่วมกันหาอาสาสมัครออกมาทดลองปฏิบัติกิจกรรมการเคลื่อนไหวร่างกายตามคำสั่ง เช่น
                        - ใครจะออกมาสั่งเพื่อนๆดูบ้างคะ
4.5.เด็กและครูร่วมกันปฏิบัติกิจกรรมการเคลื่อนไหวร่างกายตามคำสั่ง  สลับหมุนเวียนกันไปจนครบทุกคน
      ขั้นสรุป
4.6.เด็กและครูร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับกิจกรรมการเคลื่อนไหวร่างกายแบบผู้นำ ผู้ตาม เช่น
                        -เด็กๆ แสดงท่าทางดอกไม้ตูม (ดอกไม้บาน/ดอกไม้เหี่ยว)อย่างไรบ้าง
                        -ใครทำท่าดอกไม้จะตูม(ดอกไม้บาน/ดอกไม้เหี่ยว)ได้เหมือนที่สุดและทำท่าอย่างไร
4.7.เมื่อเสร็จกิจกรรมครูให้เด็กพักผ่อน  2 นาที  เป็นการพักคลายกล้ามเนื้อ โดยการนั่งลง เปลี่ยนกันนวดขาซึ่งกันและกันเบา ๆ
5. สื่อและแหล่งการเรียนรู้
                    - แทมบูริน
6. กระบวนการวัดและประเมินผล
6.1 วิธีการ

รายการประเมิน
ระดับพัฒนาการ
3
2
1
1. เด็กสามารถเคลื่อนไหวร่างกายเป็นผู้นำและผู้ตามได้

เด็กสามารถเคลื่อนไหวร่างกายเป็นผู้นำและผู้ตามได้

เด็กสามารถเคลื่อนไหวร่างกายเป็นผู้นำและผู้ตามได้โดยครูหรือเพื่อนคอยกระตุ้น
เด็กไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายเป็นผู้นำและผู้ตามได้เลย

2. เด็กสามารถเคลื่อนไหวร่างกายตามจังหวะและสัญญาณได้
เด็กสามารถฟังและปฏิบัติตามสัญญาณได้ถูกต้อง
เด็กสามารถฟังและปฏิบัติตามสัญญาณได้โดยครูหรือเพื่อนคอยกระตุ้น
เด็กไม่สามารถฟังและปฏิบัติตามสัญญาณได้เลย

 3.  เด็กสามารถแสดงท่าทางด้วยความมั่นใจ
เด็กสามารถแสดงท่าทางด้วยความมั่นใจ
เด็กสามารถแสดงท่าทางด้วยความมั่นใจได้โดยครูหรือเพื่อนคอยกระตุ้น
เด็กไม่สามารถแสดงท่าทางความมั่นใจได้เลย


6.2  ผลการประเมิน

รายการประเมิน
ระดับพัฒนาการ (จำนวน 2๖ คน)
ระดับ 3
(คน)
ร้อยละ
ระดับ 2
(คน)
ร้อยละ
ระดับ 1
(คน)
ร้อยละ
1. เด็กสามารถเคลื่อนไหวร่างกายเป็นผู้นำและผู้ตามได้

 
  
 


2. เด็กสามารถเคลื่อนไหวร่างกายตามจังหวะและสัญญาณได้






3. เด็กสามารถแสดงท่าทางด้วยความมั่นใจ























แบบประเมินกิจกรรม…………………………………..



เลขที่


ชื่อ - สกุล
รายการประเมิน
เด็กสามารถเคลื่อนไหวร่างกายเป็นผู้นำและผู้ตามได้
เด็กสามารถเคลื่อนไหวร่างกายตามจังหวะและสัญญาณได้
เด็กสามารถแสดงท่าทางด้วยความมั่นใจ


3
2
1
3
2
1
3
2
1
1
เด็กชายจักรภพ  คำเหล็ก









2
เด็กชายชยพล  เพชรวิเศษ









3
เด็กชายธีรพงษ์  แสงเพรช









4
เด็กชายธีระพันธ์  นามเผา









5
เด็กชายนนทพันธ์  สงวนศิลป์









6
เด็กชายปรมัตต์  นันสถิตย์









7
เด็กชายพรรษา  เต็มใจ









8
เด็กชายพีรพัฒน์  บรรเทาทัน









9
เด็กชายศิริชัย  เพชรวิเศษ









10
เด็กหญิงเกษศิริ  มูลหา









11
เด็กหญิงฉัตรพร  เพชรวิเศษ









12
เด็กหญิงชญานนท์  สายทรัพย์









13
เด็กหญิงณัฐริกา  การศักดิ์









14
เด็กหญิงพันธิตรา  ดรุณพันธ์









15
เด็กชายทรงฤกษ์  เศษสุข












แบบบันทึกหลังการสอน
สัปดาห์ที่ ………… หน่วย ……………………………………
วัน ……………….. ที่ …….. เดือน ……………………… ๒๕๖๑

๑.  กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
ผลการสอน
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………….…………………………………………………………………………………………………………………………
ปัญหา/อุปสรรค
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………….
ข้อเสนอแนะ/แนวทางแก้ไข
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………….
                                                                            


                                                                          ผู้บันทึก ……………………………………………….
                                                                             วันที่ ...........................................................................



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

การวัดและประเมินผลทางการศึกษา

ความหมายของคำว่า การประเมินผล ( Evaluation)  ได้มีผู้ให้ความหมายไว้ ดังนี้             ชวาล แพรัตกุล  (2516 : 140) กล่าวว่า การประเมินผล ...