วันจันทร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2562

หลักสูตรอิงมาตรฐาน (Standards-based curriculum)




            หมายถึง หลักสูตรที่มีมาตรฐานเป็นเป้าหมายในการพัฒนาผู้เรียน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้กำหนดมาตรฐานการเรียนรู้ซึ่งเป็นคุณภาพที่คาดหวังให้เกิดขึ้นในตัวผู้เรียน ดังนั้น การพัฒนาหลักสูตรตลอดแนวตั้งแต่ระดับชาติ ระดับท้องถิ่น ระดับสถานศึกษา ตลอดจนถึงระดับชั้นเรียน จะมีลักษณะเป็นหลักสูตรอิงมาตรฐาน คือ
ยึดมาตรฐานการเรียนรู้เป็นเป้าหมายและเป็นกรอบทิศทางในการกำหนดโครงสร้าง เนื้อหา กิจกรรมการเรียนการสอน ตลอดจนการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ กล่าวโดยรวมก็คือ การกำหนดมาตรฐานการเรียนรู้นำไปสู่การพัฒนาหลักสูตรอิงมาตรฐาน (Standards-based curriculum) การเรียนการสอนอิงมาตรฐาน (Standards-based instruction) และการประเมินผลอิงมาตรฐาน (Standards-based assessment)

S : การประเมินอิงมาตรฐาน (Standard Based Assessment) การประเมินอิงมาตรฐานการประเมินคุณภาพการเรียนรู้อิงมาตรฐานโดยใช้แนวคิดพื้นฐานโครงสร้างการสังเกตผลการเรียนรู้รวมถึงมาตรฐานการประเมินคุณภาพภายในและประเมินคุณภาพภายนอก
          มาตรฐานการมีความสำคัญอย่างยิ่งในชั้นเรียนมาตรฐานเป็นตัวกระตุ้นการเรียนการสอนที่ประสบผลดีที่สุดสำหรับผู้สอนที่มีความสามารถสูงสุดและผู้สอนการสอนเทียบกับมาตรฐานจะพบว่าการสอนตอบสนองต่อมาตรฐานเพื่อความชัดเจนผู้สอนต้องตอบคำถามเรื่องการเรียนการสอนกับมาตรฐานดังนี้
          ใครกำลังสอนมาตรฐานใดเพื่อตอบคำถามว่าใครสอนไม่ได้ทานอะไรไม่ใช่ใครสอนหัวข้อใด
          ใครประเมินผลมาตรฐานใดบ้าง วิธีใด เพื่อตอบคำถามว่าใครประเมินมาตรฐานใดโดยวิธีใด
          การนำมาตรฐานมาใช้เพื่อกำหนดว่าเนื้อหาและทักษะใดสัมพันธ์กับมาตรฐานในการเชื่อมโยงระหว่างเนื้อหาและทักษะกับมาตรฐานอาจไม่เพียงพอส่งผลให้มาตรฐานบางอย่างถูกละเลยเมื่อมีข้อมูลว่ามาตรฐานใดบ้างที่จะนํามาใช้ในการสอนและการประเมินผลแล้วก็จะช่วยให้ตัดสินใจได้ว่าควรจะสอนและประเมินผลอะไรในระดับชั้นใดและวิชาใดโดยวิธีใดสามารถระบุได้ชัดเจนว่ามาตรฐานให้นำมาใช้ในการสอนและการประเมินผลอย่างไรการเริ่มต้นด้วยมาตรฐานในการสอนและการประเมินผลที่ใช้อยู่ในชั้นเรียนหรือรายวิชานั้นๆเป็นสิ่งที่ง่ายที่สุดจากนั้นจึงเคลื่อนไปสู่มาตรฐานที่ยังไม่ได้สอนหรือการประเมินผลต่อไปและขั้นตอนสุดท้ายเป็นการทบทวนเพื่อตัดสินใจตอบคำถามดังต่อไปนี้
          แผนจัดการเรียนรู้นี้ดีที่สุดหรือไม่ถ้าไม่จะต้องปรับปรุงเปลี่ยนแปลงในเรื่องใดบ้างมีสิ่งใดบ้างที่ถูกมองข้ามไปหรือมีมากเกินไป
          ผู้เรียนมีโอกาสเรียนรู้อย่างเพียงพอและแสดงพฤติกรรมที่สอดคล้องกับมาตรฐานหรือไม่
          สอนย้ำแต่ละมาตรฐานบ่อยๆมากเพียงพอที่จะทำให้เกิดการเรียนรู้ที่ลุ่มลึกขึ้นหรือไม่
มาตรฐานเป็นการจัดการเรียนการสอนที่สอดคล้องต่อความคาดหวังเพื่อการเรียนรู้ของผู้เรียนมาตรฐานทำให้เกิดโครงสร้างซึ่งนำไปสู่การสร้างเป็นหลักสูตรท้องถิ่นที่สมบูรณ์แบบและลุ่มลึกได้มาตรฐานระดับชาติและระดับท้องถิ่นเป็นแหล่งวิทยาการที่สำคัญสำหรับผู้สอนคำถามที่ผู้สอนจะต้องให้ความสำคัญคือ
          มาตรฐานใดบ้างที่มุ่งเน้นการเรียนรู้ของผู้เรียน
          ผู้เรียนแต่ละคนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในทุกมาตรฐานหรือไม่
          การนำเสนอมาตรฐานอยู่ในรูปแบบที่เป็นประโยชน์และผู้สอนสามารถนำไปใช้ได้หรือไม่
          เราจะนำมาตรฐานไปใช้ในชั้นเรียนและโรงเรียนทั่วทั้งเขตพื้นที่การศึกษาได้อย่างไร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

การวัดและประเมินผลทางการศึกษา

ความหมายของคำว่า การประเมินผล ( Evaluation)  ได้มีผู้ให้ความหมายไว้ ดังนี้             ชวาล แพรัตกุล  (2516 : 140) กล่าวว่า การประเมินผล ...