การจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ มีองค์ประกอบที่ควรคำนึงถึง ดังนี้
การบริหารจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ มีลักษณะดังนี้
1) การจัดเตรียมสถานที่ สื่อ อุปกรณ์ในการจัดการเรียนการสอนให้มีสภาพที่พร้อมใช้ และเพียงพอสำหรับนักเรียนทุกคนในห้อง
2) การใช้เวลาอย่างมีประสิทธิภาพ การจัดการเรียนการสอนที่ดีขึ้นอยู่กับการใช้เวลา ในการด าเนินกิจกรรมอย่างมีประสิทธิภาพ ครูไม่ควรปล่อยให้มีเวลาว่างหรือเวลาที่เสียไปโดยเปล่าประโยชน์ อันเนื่องจากความไม่พร้อมในด้านวัสดุอุปกรณ์และการดำเนินกิจกรรมที่ไม่ได้เตรียมการล่วงหน้า เพราะ ความไม่พร้อมจะท าให้เกิดความวุ่นวาย เสียเวลาในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้ามากและทำให้การดำเนินงาน ไม่บรรลุวัตถุประสงค์ ครูต้องบริหารการใช้เวลาเพื่อให้นักเรียนได้ใช้เวลาเพื่อการเรียนรู้อย่างเต็มที่
2. การจัดการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบ คือการดำเนินการเรียนการสอนให้เป็นไป ตามล าดับขั้นตอนของรูปแบบการเรียนการสอนที่ใช้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยดำเนินการดังนี้
1) เริ่มต้นบทเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ โดยกระตุ้นให้ผู้เรียนมีความสนใจซึ่งทำได้หลายวิธี วิธีที่กระตุ้นกระบวนการคิดและสติปัญญา ก็คือการสร้างความสงสัย ประหลาดใจให้กับผู้เรียน ทำให้ ผู้เรียนมีความกระตือรือร้น อยากค้นพบคำตอบ เช่น การน าเสนอข้อมูลหรือความคิดที่ขัดแย้ง ไม่สอดคล้อง กับความรู้ ความเข้าใจเดิมของผู้เรียนทำให้ผู้เรียนเกิดข้อสงสัย กังขา การใช้คำถามที่ส่งเสริมกระบวนการคิด เป็นต้น
293
2) ด เนินการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นขั้นที่ครูจัดการเรียนการสอนโดย เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ซึ่งทิศนา แขมมณี (2555, หน้า 120) ได้ให้ความหมายว่า เป็นการจัดการเรียน การสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นตัวตั้ง โดยคำนึงถึงความเหมาะสมกับผู้เรียนและประโยชน์สูงสุดที่ผู้เรียนควรจะ ได้รับและมีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีบทบาทำคัญในการเรียนรู้ ได้มีส่วนร่วมใน กิจกรรมการเรียนรู้อย่างตื่นตัวและได้ใช้กระบวนการเรียนรู้ต่าง ๆ อันจะนำผู้เรียนไปสู่การเกิดการเรียนรู้ที่ แท้จริง ดังนั้นกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญจึงมีลักษณะที่สรุปได้ดังนี้
(1) กิจกรรมที่ผู้เรียนมีส่วนร่วมอย่างตื่นตัว ผู้เรียนเป็นผู้มีบทบาทอย่างเต็มที่และ รับผิดชอบการเรียนรู้ของตนเอง
(2) กิจกรรมที่ท้าทายให้ผู้เรียนกระตือรือร้นในการค้นหาคำตอบ โดยครูนำเสนอ ปัญหาและสถานการณ์ให้คิด ครูมีบทบาทช่วยชี้ช่อง แนะแนวให้นักเรียนเห็นลู่ทางในการแก้ปัญหา
(3) กิจกรรมที่ให้ผู้เรียนเป็นผู้ลงมือปฏิบัติเพื่อค้นหาคำตอบ
(4) กิจกรรมที่ให้ผู้เรียนได้มีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม มีการร่วมมือและการแลกเปลี่ยน ความรู้ ความคิดเห็น ตลอดจนประสบการณ์ระหว่างผู้เรียนเพื่อปรับเติม เสริมแต่ง และต่อยอดความรู้
(5) กิจกรรมที่สร้างความสะเทือนใจ ซาบซึ้ง ประทับใจ ทำให้ตื่นตัวในการเรียนรู้
(6) กิจกรรมที่ผู้เรียนได้เรียนรู้จากผู้ทรงภูมิปัญญาในท้องถิ่น
(7) กิจกรรมที่ผู้เรียนได้นำความรู้ไปทดลองใช้แก้ปัญหาหรือสร้างสรรค์ชิ้นงาน
(8) กิจกรรมที่ผู้เรียนใช้กระบวนการจัดกระทำกับข้อมูลที่ได้รับรู้เพื่อให้เข้าใจและ จดจำได้ง่ายและสามารถระลึกได้เมื่อต้องการนำมาใช้
(9) กิจกรรมที่ผู้เรียนได้เรียนรู้ในบริบทจริง ทำให้เกิดการเรียนรู้ที่แท้จริง บทบาทที่สำคัญของครูในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ได้แก่ การ เป็นผู้เตรียมการลำนวยความสะดวกให้เกิดการเรียนรู้ การท าหน้าที่เป็นผู้ให้ค าแนะน า ปรึกษา เป็น ผู้ช่วยเหลือ เป็นผู้ให้ข้อมูลย้อนกลับ บทบาทของครูที่ส่งเสริมการเรียนรู้ก็คือบทบาทที่ท าหน้าที่เหมือน โค้ชนักกีฬานั่นเอง
3) สรุปบทเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ การสรุปบทเรียนเป็นขั้นตอนที่ส าคัญเพราะเป็น ขั้นตอนในการเชื่อมโยงและประมวลความรู้ระหว่างความรู้และประสบการณ์ใหม่ที่ได้รับกับความรู้และ ประสบการณ์เดิมให้เป็นความคิดรวบยอดใหม่ที่มีความครอบคลุม ถูกต้องและชัดเจนมากยิ่งขึ้น ทำให้ ผู้เรียนสามารถบันทึกและจดจำได้ทนนาน เพราะเป็นการจดจำอย่างมีความหมาย การสรุปบทเรียนจึงมี
ความสำคัญและควรทำร่วมกันระหว่างครูและนักเรียน โดยให้ผู้เรียนเป็นผู้สรุปด้วยความเข้าใจใหม่ของ ตนเอง ครูทำหน้าที่ให้แนวทางการสรุปข้อมูล เช่นการแนะนำการใช้แผนภาพความคิด (graphic organizer) แบบต่าง ๆ ที่มีความเหมาะสมกับการสรุปและนำเสนอข้อมูล สารสนเทศที่ต้องการ และให้ข้อมูลย้อนกลับ กับผลงานของนักเรียนเพื่อเป็นสารสนเทศสำหรับการปรับปรุงแก้ไขงานและการสร้างความคิดรวบยอดใหม่ ให้มีความถูกต้อง ชัดเจนมากยิ่งขึ้น
4) ประเมินผลอย่างมีประสิทธิภาพ การประเมินผลที่มีประโยชน์ต่อการพัฒนาการ เรียนรู้ของผู้เรียนคือการประเมินความก้าวหน้า ซึ่งเป็นกระบวนการที่สามารถทำพร้อมไปกับ กระบวนการเรียนการสอน การประเมินครอบคลุมทั้งการประเมินผลการเรียนรู้และกระบวนการเรียนรู้ ของผู้เรียน วิธีการประเมินใช้เครื่องมือหลากหลายประเภทให้เหมาะสม สอดคล้องกับสิ่งที่ประเมิน ผู้ทำ หน้าที่ประเมินไม่จำกัดอยู่ที่ครูเพียงฝ่ายเดียว แต่ต้องเป็นผลการประเมินที่ทุกฝ่าย ได้แก่ ครู นักเรียนและ แม้แต่ผู้ปกครองหรือสังคม มีส่วนร่วมในการสะท้อนมุมมอง ความคิดเห็นต่าง ๆ อย่างรอบด้านเท่าที่จะ เป็นไปได้เพื่อนำมาใช้ในการประเมินการเรียนรู้ จุดมุ่งหมายสำคัญของการประเมินคือการประเมินเพื่อ พัฒนาผู้เรียนไปสู่การเรียนรู้ที่มีคุณภาพมากขึ้นนั่นเอง
คุณลักษณะของครู
คอชัคและเอกเกน (Kauchak & Eggen, 2007, p. 127) กล่าวว่า ครูที่ดีควรมีลักษณะส าคัญ 3 ประการ คือ มีทัศนคติที่ดีในการสอน มีทักษะในสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ และมีทักษะการจัดกิจกรรม การเรียนการสอน ลักษณะดังกล่าวส่งผลต่อประสิทธิภาพของการเรียนการสอน ตั้งแต่ช่วงเริ่มต้นแนะน า บทเรียน ช่วงตอนกลางของบทเรียน และช่วงปิดท้ายบทเรียน ดังนั้นคุณลักษณะของครูจึงมีอิทธิพลต่อ การเรียนรู้ของนักเรียนในห้องเรียน
1. ทัศนคติของครู เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในการเป็นครูที่ดีเพราะทัศคติของครูมีอิทธิพลต่อ การสอนและการถ่ายทอดความรู้ให้กับเด็ก ทัศนคติของครูประกอบด้วย ประสิทธิภาพทางการสอนของ ครู การเป็นแบบอย่างและความกระตือรือร้นของครู และความคาดหวังของครู ทั้งสามสิ่งนี้ส่งผลต่อ ทัศนคติในการสอนของครู (Brunning et al., 2004)
1) ประสิทธิภาพทางการสอนของครู ครูที่มีประสิทธิภาพทางการสอนสูงจะส่งผลดีต่อ การเรียนรู้ของผู้เรียน ทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้เร็วและมีคุณภาพ ครูที่มีประสิทธิภาพทางการสอน สูงมักให้คำชมเด็กและให้กำลังใจมากกว่าการติหรือต่อว่าเมื่อเด็กทำผิด อีกทั้งยังมีความยืดหยุ่นในการใช้
กลยุทธ์และอุปกรณ์การเรียนการสอนใหม่ ๆ อีกด้วย ตรงกันข้ามกับครูที่มีประสิทธิภาพทางการสอนต่ำ ครูเหล่านั้นมักตินักเรียนเมื่อทำผิดและยึดติดกับรูปแบบการสอนเดิม ๆ โดยไม่ปรับเปลี่ยนให้เข้ากับเด็ก หรือบรรยากาศการสอนใหม่ ๆ (Poole, Okeafor, & Sloan, 1989)
2) การเป็นแบบอย่างและความกระตือรือร้นของครู ครูมีอิทธิพลอย่างมากต่อความคิด และแนวทางการเรียนของเด็ก เด็กมักไม่เลียนแบบหรือปฏิบัติตามคำพูดของครู แต่เด็กจะเลียนแบบ พฤติกรรมและการแสดงออกของครู เด็กจะรู้ว่าทัศนคติของครูเป็นอย่างไรโดยดูจากการแสดงออก ทางการกระทำเช่น หากครูบอกให้นักเรียนแสดงความเห็นอย่างอิสระต่อประเด็นหนึ่ง ๆ แต่ครูกลับไม่ ยอมรับความคิดเห็นนั้น เด็กจะเริ่มสังเกตว่าครูชอบความคิดแบบใดและพยายามแสดงความเห็นที่ตรง กับความต้องการของครู ความกระตือรือร้นของครูเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในการเป็นแบบอย่างที่ดีของเด็ก เพราะเด็กจะรู้สึกสนุกและอยากเรียนกับครูที่มีความกระตือรือร้นในการสอน ครูที่มีความกระตือรือร้น ไม่จำเป็นต้องเล่าเรื่องตลกที่นอกเหนือจากบทเรียนแต่ครูจำเป็นต้องสื่อสารให้เด็กเข้าใจได้ว่าบทเรียนมี ความน่าสนใจและจะเป็นประโยชน์ต่อผู้เรียนอย่างไร การใช้ภาษากายในการสื่อสารและใช้ภาษาพูดที่ เข้าใจง่ายจะช่วยให้เด็กเกิดความสนใจในบทเรียนนั้น ๆ มากยิ่งขึ้น
3) ความคาดหวังของครู ความคาดหวังของครูคือสิ่งที่เกี่ยวกับความสำเร็จทางวิชาการ พฤติกรรมและทัศนคติของนักเรียนในอนาคต ครูที่ดีมักจะมีความคาดหวังเชิงบวกต่อการเรียนของ นักเรียนและอธิบายให้นักเรียนเข้าใจถึงความสำคัญของบทเรียนต่างๆ ครูควรช่วยเด็กทุกคนอย่างเท่า เทียมกันให้ประสบความสำเร็จในการเรียนและบรรลุเป้าหมายทางวิชาการที่ตนตั้งไว้ ความคาดหวังเชิง บวกของครูต่อนักเรียนส่งผลให้นักเรียนตั้งใจเรียนและทุ่มเทกับการเรียนมากขึ้น
2. ทักษะในการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ การใช้ภาษาของครูมีผลต่อความสำเร็จในการ เรียนของนักเรียนและความพึงพอใจในการเรียน การสื่อสารที่ชัดเจนมีองค์ประกอบ 5 อย่าง ได้แก่
1) การใช้คำศัพท์ที่สื่อความหมายได้ใช้เจน โดยครูควรหลีกเลี่ยงการใช้คำที่คลุมเครือ เวลาสื่อสารกับเด็กเนื่องจากคำเหล่านั้นทำให้ประสิทธิภาพทางการเรียนของเด็กลดลงและยังแสดงให้ เห็นว่าครูเตรียมตัวมาไม่ดี
2) การใช้คำเชื่อมประโยคที่เหมาะสม การสื่อสารที่ดีต้องมีคำเชื่อมที่นำไปสู่ใจความ สำคัญของประโยค ค าเชื่อมที่ถูกต้องจะทำให้ลำดับเหตุการณ์ของประโยคเชื่อมโยงกันอย่างสมเหตุสมผล
3) การเชื่อมโยงความคิดในบทเรียน ครูต้องทำให้นักเรียนเข้าใจถึงความสัมพันธ์ ระหว่างความคิดที่หนึ่งและความคิดที่สองโดยการอธิบายความเชื่อมต่อนั้น
4) การเน้นย้ำ ครูควรเน้นย้ำหัวข้อหรือเนื้อหาที่มีความสำคัญหรือโดดเด่นกว่าเนื้อหา อื่น ๆ เพื่อช่วยให้นักเรียนได้เห็นถึงระดับความสำคัญที่ต่างกันของเนื้อหาในบทเรียน
5) ความสอดคล้องของภาษาพูดและภาษากาย การใช้ภาษากายประกอบการพูดควร เป็นไปในแนวทางเดียวกับสิ่งที่ครูพูด ภาษากายมีความสำคัญเนื่องจากเด็กสามารถประเมินทัศนคติและ ความจริงใจของครูได้ผ่านทางการแสดงออกของครู ดังนั้นเมื่อครูต้องการจูงใจนักเรียน หรือบอกให้ นักเรียนทำ อะไร ครูต้องใช้ภาษาพูดและภาษากายที่สอดคล้องกัน
3. ทักษะการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน การจัดการเรียนการสอนที่ดีนั้นต้องเริ่มจาก การตรงต่อเวลา ครูจำเป็นต้องแบ่งเวลาการท ากิจกรรมอย่างเหมาะสมเพื่อไม่ให้กระทบต่อกิจกรรมอื่น ๆ การเตรียมอุปกรณ์การสอนล่วงหน้าก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ต้องคำนึงถึง นอกจากนี้ครูยังต้องสร้างกิจวัตรที่ดี ให้กับนักเรียน เช่น เมื่อเด็กเข้ามาในห้องเรียน เด็กต้องรู้ว่าสิ่งแรกที่ควรทำคืออะไร และเมื่อเลิกเรียน ต้องทำอะไร การจัดการห้องเรียนที่มีระบบจะช่วยลดปัญหาต่าง ๆ ในห้องเรียน เช่นการสอนไม่ทันและ ความไม่เป็นระเบียบในห้องเรียน โดยสรุป การเป็นครูที่ดีควรเริ่มจากการมีทัศนคติที่ดีต่อการเรียนการสอน เพราะทัศนคติจะ ส่งผลต่อการแสดงพฤติกรรมต่าง ๆ ของครู และปฏิสัมพันธ์ของครูต่อนักเรียน ซึ่งส่งผลต่อการเรียนรู้ ของนักเรียน เพราะนักเรียนสามารถรับรู้ได้โดยอัตโนมัติว่า ครูคิดอย่างไรและต้องการอะไร เพื่อที่จะ ตอบสนองไปตามความต้องการของครู นอกจากนั้นนักเรียนยังยึดถือครูเป็นแบบอย่าง โดยการ เลียนแบบการกรทำและคำพูดของครู การมีทัศนคติที่ดีจึงเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญของคุณลักษณะอื่น ๆ
การจัดกิจกรรมได้อย่างเหมาะสมตามเป้าหมายการเรียนรู้ และจัดให้มีการเรียนรู้ แบบร่วมมือ การสร้างบรรยากาศที่ส่งเสริมการเรียนรู้ ประกอบด้วยองค์ประกอบต่อไปนี้ คือ การจูงใจ ผู้เรียน สิ่งแวดล้อมในการเรียน การสอนที่มีประสิทธิภาพ และคุณลักษณะของครู
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น