วันอาทิตย์ที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2562

การประเมินผลและการนิเทศ


          ปฏิสัมพันธ์ทางการนิเทศจากใจถึงใจ บนพื้นฐานของความรัก ความเข้าใจและความจริงใจต่อกันในการพัฒนาทักษะวิชาชีพ  ซึ่งมีลักษณะสำคัญดังนี้
                  1. เป็นการนิเทศที่พัฒนามาจากการผสมผสานกันระหว่างการนิเทศจากบุคลากรภายนอกและการนิเทศภายในโรงเรียน โยมีจุดมุ่งหมายเดียวกัน คือการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนด้วยวิธีการที่เป็นระบบและมีขั้นตอนการดำเนินงานที่ชัดเจน
                  2. ในกระบวนการปฏิสัมพันธืทางการนิเทศแบบร่วมพัฒนา จะมีศูนย์กลางอยู่ที่ตัวครูในกลุ่มสาระการเรียนรู้และโรงเรียน ซึงมีบทบาทหน้าที่แตกต่างกัน เช่น หัวหน้ากุล่มสาระการเรียนรู้มีหน้าที่เป็นผู้นิเทศหรือคู่สัญญา (ถ้าผู้รับนิเทศต้องการ) เพื่อนครูที่สนิทสนมไว้วางใจกันและพร้อมที่จะร่วมมือกันในการพัฒนาทักษะวิชาชีพ มีบทบาทหน้าที่เป็นคู้สัญญา และครูที่มีความสนใจต้องการมีส่วนร่วมแต่ยังขาดความพร้อม สามารถมีส่วนร่วมได้ในบทบาทของเพื่อนร่วมอุดมการณ์ และมีเครือข่ายที่เป็นบุคลากรจากภายนอก เช่น ศึกษานิเทศก์ หรือครูผู้ร้วมนิเทศ ซึ่งก็จะมีบทบาทเป็นผู้นิเทศหรือที่ปรึกษา
                 3. เป็นรูปแบบการนิเทศที่ให้ความสำคัญทั้งกระบวนการนิเทศทั่วไป และกระบวนการนิเทศการสอน โดยทั้งสองกระบวนการจะเอื้อประฌยชน์ซึ่งกันและกัน และส่งผลให้คุณภาพการจัดการเรียนการสอนดีขึ้น และสำหรับการนิเทศการสอนในรูปแบบของการนิเทศแบบร่วมพัฒนานี้ได้พัฒนามาจากแนวคิดในการนิเทศการสอนแบบคลีนิกและการนิเทศเชิงเน้นวัตถุประสงค์
                 4. เป็นการวมกลุ่มกัน เพื่อพัฒนาวิชาชีพของครูที่มีความรับผิดชอบต่อวิชาชีพสูงและมีความกระตือรือร้นที่จะพัฒนาความเจริญงอกงามทางวิชาชีพ โดยกำหนดเป็นโครงการนิเทศ มีระยะเวลาในการดำเนินงาน สามารถติดตามผลการปฏิบัติงานได้ ซึ่งผู้บริหารสถานศึกษาและผู้นิเทศจะต้องรับรูเมีส่วนร่วมในการติดตามผล ให้ความสนับสนุนและอำนวยความสะดวก
                 5. เน้นหลักประชาธิปไตยในการนิเทศ โดยครูจะมีเสรีภาพในการนิเทศ เลือกผู้นิเทศ เลือกคู่สัญญา เลือกเวลาในการปฏิบัติการนิเทศ เลือกบทเรียนที่จะสอน เลือกเครื่องมือสังเกตการสอน ในการนิเทศการสอน ครูสามารถเลือกวิธีการนิเทศตนเอง คือ สังเกตพฤติกรรมการสอนของตนเองแทนที่จะให้ผู้นิเทศหรือคู่สัญญาหรือศึกษานิเทศก์เข้าไปสังเกตการสอนหรือถ้าหากครูมีความพร้อมใจ ต้องการให้ผู้นิเทศหรือคู่สัญญาเข้าไปสังเกตการสอน ครูก็สามารถเลือกหรือรับรู้ทำความเข้าใจกับเครื่องมือสังเกตการสอน จนเป็นที่พอใจและไม่มีความวิตกกังวลต่อผลของการใช้เครื่องมือสังเกตการสอนนั้นๆ
                  6. การสังเกตการสอนในกระบวนการนิเทศแบบร่วมพัฒนา ผู้นิเทศต้องไม่สร้างภาพพจน์ในการวัดผลหรือประเมินผลการสอน แต่จะเป็นการบันทึกและอธิบายภาพที่เกิดขึ้นในห้องเรียนว่าผู้สอนมีพฤติกรรมอย่างไร มากน้อยเท่าใด ไม่ใช่ดีหรือไม่ดีอย่างไรเพราะไม่ต้องการให้ครูเกิดความรู้หวั่นกลัวการประเมินและวิตกกังวลต่อปฏิสัมพันธ์ทางการนิเทศ
                  7. การสังเกตการสอนในกระบวนการนิเทศแบบร่วมพัฒนาจะเน้นที่การสังเกตตนเองเชิงเน้นวัตถุประสงค์เป็นหลัก โดยมีเครื่องมือสังเกตการสอนที่สอดคล้องกับจุดประสงค์ที่ต้องการนิเทศซึ่งขึ้นอยู่กับปัญหาที่เกิดขึ้นในกระบวนการจัดการเรียนการสอน ส่วนการสังเกตการสอนโดยคู่สัญญาหรือผู้นิเทศอื่น ๆ เช่น หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ หรือศึกษานิเทศก์ จะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อเป็นความต้องการของครูผู้นั้น 
                  8. การวิเคราะห์พฤติกรรมการสอนของครู จะต้องขึ้นอยู่กับข้อมูลที่ได้จากการสังเกตการสอนไม่ใช่จากความคิดเห็นส่วนตัว ค่านิยม หรือประสบการณ์ของผู้นิเทศเอง
                  9. การใช้ข้อมูลป้อนกลับหลังจากการสังเกตการสอน และการวิเคราะห์พฤติกรรมการสอนผู้นิเทศจะใช้เทคนิคนิเทศทางอ้อม เพื่อพัฒนาให้ครูสามารถวางแผนการสอนได้เอง วิเคราะห์การสอนของตนเองได้ ประเมินผลการสอนของตนเองได้ และสามารถนิเทศตนเอวได้ในที่สุด
                10. การปฏิบัติการนิเทศ ยึดหลักการนิเทศแบบมีส่วนร่วม คือ ทั้งผู้นิเทศและผู้รับการนิเทศจะทำงานร่วมกันทั่งกระบวนการ ตั้งแต่การหาความต้องการจำเป็นในการนิเทศ การกำหนดวัตถุประสงค์ในการนิเทศ การวางแผนการนิเทศ การดำเนินการนิเทศและการประเมินผลการนิเทศด้วยความเสมอภาคกัน ยอมรับ ยกย่อง ให้เกียรติซึ่งกันและกัน ในฐานะผู้ร่วมวิชาชีพ 
                 11.ในกระบวนการนิเทศแบบร่วมพัฒนา ได้ให้ความสำคัญต่อการเสริมขวัญและกำลังใจแก่ผู้ปฏิบัติการในทุกขั้นตอนของการดำเนินงาน ทั้งนี้เพื่อให้ครูเกิดความภาคภูมิใจและเกิดความสุขในวิชาชีพ มีพลังที่จะแก้ไข ปรับปรุงการปฏิบัติงาน แลละมีความพึงพอใจที่จะนำข้อนิเทศไปปฏิบัติให้เกิดผลอย่างต่อเนื่อง 
                  12. การนิเทศแบบร่วมพัฒนา เป็นการนิเทศที่ยึดวัตถุประสงค์เป็นหลักสำคัญในการแก้ปัญหาและพัฒนาการเรียนการสอน เป็นการทำงานอย่างเป็นระบบ แต่สามารถยืดหยุ่นได้ตามสถานการณ์ที่เหมาะสม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

การวัดและประเมินผลทางการศึกษา

ความหมายของคำว่า การประเมินผล ( Evaluation)  ได้มีผู้ให้ความหมายไว้ ดังนี้             ชวาล แพรัตกุล  (2516 : 140) กล่าวว่า การประเมินผล ...