วันอาทิตย์ที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2562

ความสำคัญของการประเมินคุณภาพภายนอก


ความสำคัญของการประเมินคุณภาพภายนอก
             การประเมินคุณภาพภายนอก มีความสำคัญและมีความหมายต่อสถานศึกษา หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสาธารณชน ดังต่อไปนี้(สำนักงานรับรองมาตรฐานและ ประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน), 2550)
             1. เป็นการส่งเสริมให้สถานศึกษาพัฒนาเข้าสู่เกณฑ์มาตรฐาน และพัฒนาตนเอง ให้เต็มตามศักยภาพอย่างต่อเนื่อง
             2. เพิ่มความมั่นใจ และคุ้มครองประโยชน์ให้ผู้รับบริการทาง การศึกษาให้มั่นใจ ได้ว่าสถานศึกษาจัดการศึกษาม่งสู่คุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาที่เนันให้ผู้เรียนเป็น- คนดี มีความสามารถ และมีความสุขเพื่อเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม
             3. สถานศึกษาและหน่วยงานที่กำกับดูแล เช่น คณะกรรมการสถานศึกษา หน่วยงานต้นสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และ ชุมชนท้องถิ่นมีข้อมูลที่จะช่วยตัดสินใจในการวางแผน และดำเนินการเพื่อพัฒนา คุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาให้เป็นไปในทิศทางที่ต้องการและบรรลุเป้าหมาย ตามที่กำหนด
             4. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระดับนโยบายมีข้อมูลสำคัญในภาพรวมเกี่ยวกับ คุณภาพและมาตรฐานของสถานศึกษาทุกระดับทุกสังกัดเพื่อใช้เป็นแนวทางในการกำหนด นโยบายทางการศึกษาและการจัดสรรงบประมาณเพื่อการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ
วัตถุประสงค์ของการประเมินฅุฌภาพภาพนอก

             วัตถุประสงค์ของการประเมินคุณภาพภายนอก มีดังต่อไปนี้(สำนักงานรับรอง- มาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน), 2550)
             1. เพื่อตรวจสอบ ยืนยันสภาพจริงในการดำเนินงานของสถานศึกษา และ ประเมินคุณภาพการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาที่กำหนด
             2. เพื่อให้ได้ข้อมูลซึ่งจะช่วยสะท้อนให้เห็นจุลเด่น จุดที่ควรพัฒนาของ สถานศึกษา สาเหตุของปัญหาและเงื่อนไขของความสำเร็จ
             3. เพื่อช่วยเสนอแนะแนวทางปรับปรุง และพัฒนาคุณภาพการศึกษาแก่ สถานศึกษา และหน่วยงานต้นสังกัด
             4. เพื่อส่งเสริมให้สถานศึกษามีการพัฒนาคุณภาพ และประกันคุณภาพภายใน อย่างต่อเนื่อง
             5. เพื่อรายงานผลการประเมินคุณภาพ และมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา ต่อหน่วยงานเกี่ยวข้องและสาธารณชน
หลักการของการประเมินคุณภาพภายนอก
             การประเมินคุณภาพภายนอกสถานศึกษา เป็นเครื่องมือสำคัญในการยกระดับ คุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศอย่างต่อเนื่อง อันจะนำไปสู่ความมี มาตรฐานทางการศึกษา และเป็นที่ยอมรับในระสับสากลต่อไป ซึ่งรูปแบบ และวิธีการ ดำเนินการจะเป็นไปตามที่ กำหนดในระเบียบของ สำนักงานรับรองมาตรฐาน และ ประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) การประเมินคุณภาพภายนอกสถานศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานมีหลักกการสำคัญ ประการ สือ (สำนักงานรับรองมาตรฐาน และประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน), 2550)           
             1. เป็นการประเมินเพื่อมุ่งให้มีการพัฒนาคุณภาพการศึกษาไม่ได้มุ่งเน้นเรื่อง การตัดสิน การจับผิด หรือการให้คุณให้โทษ
             2. ยึดหลักความเที่ยงตรง เป็นธรรม โปร่งใส มีหลักฐานข้อมูลตามสภาพความ- เป็นจริง และมีความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้ (accountability)
             3. มุ่งสร้างความสมดุลระหว่างเสรีภาพทางการศึกษากับจุดมุ่งหมาย และ หลักการศึกษาของชาติ โดยให้มีเอกภาพเชิงนโยบายแต่ยังคงมีความหลากหลายในทาง ปฏิบัติที่สถานศึกษาสามารถกำหนดเป้าหมายเฉพาะ และพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้เต็ม ตามศักยภาพของสถานศึกษา และผู้เรียน
             4. มุ่งเน้นในเรื่องของการส่งเสริม และประสานงาน ในลักษณะกัลยาณมิตร มากกว่าการกำกับและควบคุม
             5. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการประเมินคุณภาพ และการพัฒนาการจัด การศึกษาจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

การวัดและประเมินผลทางการศึกษา

ความหมายของคำว่า การประเมินผล ( Evaluation)  ได้มีผู้ให้ความหมายไว้ ดังนี้             ชวาล แพรัตกุล  (2516 : 140) กล่าวว่า การประเมินผล ...