การประเมินผลตามสภาพจริง หมายถึง กระบวนการสังเกตการบันทึกและการรวบรวมข้อมูลจากงานวิธีการที่ผู้เรียนทำ เพื่อเป็นพื้นฐานของการตัดสินใจถึงผลกระทบต่อผู้เรียน การประเมินผลตามสภาพจริง จะไม่เน้นการประเมินเฉพาะทักษะพื้นฐาน แต่จะเน้นประเมินทักษะการคิดที่ซับซ้อนในการทำงาน ความสามารถในการแก้ปัญหาและการแสดงออกที่เกิดจาการ
ปฏิบัติในสภาพจริง ในการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
ลักษณะสำคัญของการประเมินตามสภาพจริง
1. เสริมสร้างพัฒนาการและการเรียนรู้
2. เน้นให้เห็นพัฒนาการอย่างเด่นชัด
3. ให้ความสำคัญกับจุดเด่นของผู้เรียน
4. ตอบสนองหลักสูตรที่เน้นสภาพชีวิตจริง
5. มีพื้นฐานของสภาพที่เป็นจริง
6. มีพื้นฐานบนการแสดงออกจริง
7. สอดคล้องกับการเรียนการสอน
8. การจัดการเรียนการสอนจะมีวิจัย และพัฒนาให้สอดคล้องกับพัฒนาการของเด็ก
9. เน้นการเรียนอย่างมีจุดหมาย
10. ตอบสนองได้ทุกบริบท เนื้อหาสาระและการบูรณาการวิชาการต่าง ๆ
11. ตอบสนองการเรียนรู้และความสามารถของผู้เรียนอย่างกว้างขวาง
12. มีความร่วมมือระหว่างผู้ปกครอง ครู ผู้เรียน และบุคคลในสาขาวิชาอื่น ๆ
ปฏิบัติในสภาพจริง ในการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
ลักษณะสำคัญของการประเมินตามสภาพจริง
1. เสริมสร้างพัฒนาการและการเรียนรู้
2. เน้นให้เห็นพัฒนาการอย่างเด่นชัด
3. ให้ความสำคัญกับจุดเด่นของผู้เรียน
4. ตอบสนองหลักสูตรที่เน้นสภาพชีวิตจริง
5. มีพื้นฐานของสภาพที่เป็นจริง
6. มีพื้นฐานบนการแสดงออกจริง
7. สอดคล้องกับการเรียนการสอน
8. การจัดการเรียนการสอนจะมีวิจัย และพัฒนาให้สอดคล้องกับพัฒนาการของเด็ก
9. เน้นการเรียนอย่างมีจุดหมาย
10. ตอบสนองได้ทุกบริบท เนื้อหาสาระและการบูรณาการวิชาการต่าง ๆ
11. ตอบสนองการเรียนรู้และความสามารถของผู้เรียนอย่างกว้างขวาง
12. มีความร่วมมือระหว่างผู้ปกครอง ครู ผู้เรียน และบุคคลในสาขาวิชาอื่น ๆ
หลักการของการประเมินผลจากสภาพจริง
|
1. เป็นการประเมินความก้าวหน้าและการแสดงออกของผู้เรียนบนรากฐานของทฤษฎีพฤติกรรมการเรียนรู้และด้วยเครื่องมือประเมินที่หลากหลาย
2. การประเมินผลจากสภาพจริงจะต้องมีรากฐานบนพัฒนาการและการเรียนรู้ทางสติปัญญาที่หลากหลาย
3. การประเมินผลจากสภาพจริงและพัฒนาหลักสูตรที่เหมาะสมจะต้องทำให้ส่งเสริมซึ่งกันและกัน
4. ความรู้ในเนื้อหาสาระในทางกว้างและลึกจะนำไปสู่การพัฒนาให้ผู้เรียนรู้มากขึ้น เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย สนองความต้องการและเสริมสร้างศักยภาพของผู้เรียนอย่างเต็มที่
5. การเรียน การสอน การประเมิน จะต้องหลอมรวมกันและต้องประเมินต่อเนื่องตลอดเวลาที่ทำการเรียนการสอนโดยผู้เรียนมีส่วนร่วม
6. เน้นการปฏิบัติจริงในสภาพสอดคล้องหรือใกล้เคียงกับธรรมชาติความเป็นจริงของการดำเนินชีวิต งาน/กิจกรรมการเรียนการสอนและการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้คิดงานด้วย
7. การเรียนการสอนจะต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาศักยภาพให้เต็มที่ตามที่เป็นจริงของแต่ละบุคคล
:: วิธีการและเครื่องมือที่ใช้ในการประเมินผลตามสภาพจริง
|
1. การประเมินการแสดงออกและกระบวนการของนักเรียน (Performance and Process) มีวิธีการและเครื่องมือที่ใช้หลายประการ เช่น
1.1 การสังเกต (Observe) คือ การเฝ้าดูเด็กตลอดเวลา เป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญในระหว่างการสอนที่ครูสามารถเห็นพฤติกรรมของผู้เรียนเป็นรายบุคคลหรือความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่ม ที่สะท้อนความสามารถในด้านความรู้ ทักษะ ความรู้สึก และคุณลักษณะ
1.2 การบันทึกพฤติกรรม (Anecdotal Records) เป็นการบันทึกเหตุการณ์หรือปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นแก่เด็ก โดยจะบันทึกอย่างละเอียดหรือย่อ ๆ ก็ได้ ปกติจะเขียนหลังจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
1.3 แบบสำรวจรายการ (Checklists) เป็นเครื่องมือช่วยบันทึกแบบตั้งใจที่จะดูพฤติกรรมหรือการเรียนรู้ว่าเกิดขึ้นหรือไม่ เน้นดูที่ความเจริญเติบโตพัฒนาการหรือจุดประสงค์การเรียนรู้รวมทั้งองค์ประกอบต่าง ๆ ของหลักสูตร
องค์ประกอบของแบบสำรวจรายการ ได้แก่ คุณลักษณะ ทักษะ ความสนใจและพฤติกรรมที่มุ่งหวังตามมาตรฐานของหลักสูตรและผลการเรียนรู้ในแต่ละระดับ (Curricular Benchmark) หรือความคิดรวบยอด
1.4 Inventories เป็นเครื่องมือที่คล้ายคลึงกับแบบสำรวจรายการแต่จะเป็นแนวทางที่ดูร่องรอยของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเรื่อย ๆ หรือพัฒนาการโดยการสังเกตสิ่งที่แสดงออก
1.5 มาตราส่วนประมาณ (Rating Scale) เป็นเครื่องมือช่วยในการบันทึก ซึ่งต้องการให้ผู้สังเกตคิดค้นเกี่ยวกับความรู้ ทักษะ ความรู้สึกและคุณลักษณะในขอบเขตที่จะสังเกตโดยกำหนดให้เป็นตัวเลขหรือบรรยายระดับคุณภาพ
1.6 การสัมภาษณ์ เป็นการสัมภาษณ์ผู้เรียนที่จะได้ข้อมูลที่ต่อให้เกิดความเข้าใจเด็กอย่างลึกซึ้ง การสัมภาษณ์จะช่วยให้ครูได้ข้อมูลสำหรับการตัดสินใจในพัฒนาการของผู้เรียนและยังช่วยให้ครูเชื่อมโยงกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้และความเข้าใจของผู้เรียนได้เป็นอย่างดี
2. การประเมินกระบวนการและผลผลิตของผู้เรียน (Process and Product)
เกณฑ์การประเมินหรือแนวทางการให้คะแนน (Rubric Assessment) เครื่องมือที่ใช้เป็นแนวทางประเมินการปฏิบัติงานของผู้เรียน เรียกว่า “รูบริค” (Rubric) คือ แนวทางการให้คะแนน (Scoring Guide) ที่กำหนดมาตรวัด (Scale) และรายการของคุณลักษณะสมรรถภาพหรือประเด็นการประเมินที่บรรยายถึงความสามารถในการแสดงออกแต่ละจุดในมาตรวัดไว้อย่างชัดเจน โดยแบ่งออกเป็นระดับ
การให้คะแนนของรูบริค คือ การตอบคำถามว่า ผู้เรียนทำอะไร ได้สำเร็จหรือมีระดับความสำเร็จในขั้นต่าง ๆ กันหรือมีผลงานเป็นอย่างไรนั่นเอง การให้คะแนนรูบริคมี 2 แบบ คือ
2.1) การให้คะแนนเป็นภาพรวม (Holistic Seore) คือ การให้คะแนนงานชิ้นใดชิ้นหนึ่งโดยดูภาพรวมของชิ้นงาน ว่ามีความเข้าใจความคิดรวบยอดการสื่อความสำเร็จของงานเป็นชิ้น ๆ โดยอาจจะแบ่งระดับคุณภาพ การให้คะแนน รูบริค อาจแบ่งวิธีการให้คะแนนหลายวิธี เช่น
วิธีที่ 1 แบ่งงานตามคุณภาพ เป็น 3 กอง คือ
กองที่ 1 ได้แก่ งานที่มีคุณภาพเป็นพิเศษและเขียนอธิบายลักษณะงานที่มีคุณภาพเป็นพิเศษ
กองที่ 2 ได้แก่ งานที่ยอมรับได้และเขียนอธิบายลักษณะของงานที่ยอมรับได้
กองที่ 3 ได้แก่ งานที่ยอมรับได้น้อยหรือยอมรับไม่ได้ และเขียนอธิบายลักษณะของงานที่ยอมรับได้น้อย
จากนั้นนำแต่ละกองมาให้คะแนน 2 ระดับ คือ
งานกองที่ 1 จะได้คะแนน 6 หรือ 5
งานกองที 2 จะได้คะแนน 4 หรือ 3
งานกองที่ 3 จะได้คะแนน 2 หรือ 1
งานที่ใช้ไม่ได้หรือไม่ใช้ความพยายามเลย ให้คะแนน 0
วิธีที่ 2 กำหนดระดับการผิดพลาด โดยพิจารณาจากความบกพร่องของคำตอบว่า มีมากน้อยเพียงใด แล้วหักจากระดับคะแนนสูงสุดมาทีละระดับ
คะแนน 4 หมายถึง คำตอบถูก แสดงเหตุผลถูกต้อง แนวคิดชัดเจน
คะแนน 3 หมายถึง คำตอบถูก แสดงเหตุผลถูกต้อง อาจมีข้อผิดพลาดเล็กน้อย
คะแนน 2 หมายถึง เหตุผลหรือการคำนวณผิดพลาด แต่มีแนวทางที่จะนำไปสู่คำตอบ
คะแนน 1 หมายถึง แสดงวิธีคิดเล็กน้อยแต่ไม่ได้คำตอบ
คะแนน 0 หมายถึง ไม่ตอบหรือตอบไม่ถูกเลย
วิธีที่ 3 กำหนดระดับคำอธิบาย เช่น
4 หมายถึง การสาธิตหรือการแสดงออกให้เห็นถึงการเข้าใจสมบูรณ์ครบถ้วนถูกต้องแม่นยำ ในหลักความคิดรวบยอด ข้อเท็จจริงของงานหรือสถานการณ์ที่กำหนดทั้งเสนอแนวคิดใหม่ที่แสดงถึงความเข้าใจอย่างลึกซึ่งถึงกฎเกณพ์หรือลักษณะของข้อมูล
3 หมายถึง การแสดงออกให้เห็นถึงการเข้าใจที่สมบูรณ์ ครบถ้วนถูกต้องในหลักการ ความคิดรวบยอด ข้อเท็จจริงของงานหรือสถานการณ์ที่กำหนด
2 หมายถึง การแสดงออกให้เห็นถึงการเข้าใจไม่สมบูรณ์ ครบถ้วนถูกต้องในหลักการ ความคิดรวบยอด ข้อเท็จจริง หรือสถานการณ์ ที่กำหนดน้อยมากและเข้าใจไม่ถูกต้องในบางส่วน
1 หมายถึง การแสดงออกให้เห็นการเข้าใจหลักการ ความคิดรวบยอด ข้อเท็จจริงของงานหรือสถานการณ์ที่กำหนดน้อยมากและเข้าใจไม่ถูกต้องในบางส่วน
0 หมายถึง ไม่แสดงความคิดเห็นใด ๆ
2.2) การให้คะแนนแบบแยกองค์ประกอบ (Analytic Score) เป็นการประเมินแบบแยกองค์ประกอบของการให้คะแนนและอธิบายคุณภาพของงานในแต่ละองค์ประกอบเป็นระดับ ซึ่งจะมีการแยกองค์ประกอบของงานเป็น 4 ด้าน คือ
2.1 ความเข้าใจในความคิดรวบยอด ข้อเท็จจริง เป็นการแสดงให้เห็นว่าผู้เรียนเข้าใจในความคิดรวบยอด หลักการตอบปัญหาที่ถามอย่างกระจ่างชัด
2.2 การสื่อความหมาย สื่อสาร คือ ความสามารถในการอธิบายนำเสนอการบรรยายเหตุผล แนวคิดให้ผู้อื่นเข้าใจ ได้ดีมีความคิดสร้างสรรค์
2.3 การใช้กระบวนการและยุทธวิธี สามารถเลือกใช้ยุทธวิธีกระบวนการที่นำไปสู่ความสำเร็จได้อย่างประสิทธิภาพ
2.4 ผลเร็จของงาน ความถูกต้องแม่นยำในผลสำเร็จของงานหรืออธิบายที่มาและตรวจสอบผลงานได้
1.1 การสังเกต (Observe) คือ การเฝ้าดูเด็กตลอดเวลา เป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญในระหว่างการสอนที่ครูสามารถเห็นพฤติกรรมของผู้เรียนเป็นรายบุคคลหรือความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่ม ที่สะท้อนความสามารถในด้านความรู้ ทักษะ ความรู้สึก และคุณลักษณะ
1.2 การบันทึกพฤติกรรม (Anecdotal Records) เป็นการบันทึกเหตุการณ์หรือปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นแก่เด็ก โดยจะบันทึกอย่างละเอียดหรือย่อ ๆ ก็ได้ ปกติจะเขียนหลังจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
1.3 แบบสำรวจรายการ (Checklists) เป็นเครื่องมือช่วยบันทึกแบบตั้งใจที่จะดูพฤติกรรมหรือการเรียนรู้ว่าเกิดขึ้นหรือไม่ เน้นดูที่ความเจริญเติบโตพัฒนาการหรือจุดประสงค์การเรียนรู้รวมทั้งองค์ประกอบต่าง ๆ ของหลักสูตร
องค์ประกอบของแบบสำรวจรายการ ได้แก่ คุณลักษณะ ทักษะ ความสนใจและพฤติกรรมที่มุ่งหวังตามมาตรฐานของหลักสูตรและผลการเรียนรู้ในแต่ละระดับ (Curricular Benchmark) หรือความคิดรวบยอด
1.4 Inventories เป็นเครื่องมือที่คล้ายคลึงกับแบบสำรวจรายการแต่จะเป็นแนวทางที่ดูร่องรอยของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเรื่อย ๆ หรือพัฒนาการโดยการสังเกตสิ่งที่แสดงออก
1.5 มาตราส่วนประมาณ (Rating Scale) เป็นเครื่องมือช่วยในการบันทึก ซึ่งต้องการให้ผู้สังเกตคิดค้นเกี่ยวกับความรู้ ทักษะ ความรู้สึกและคุณลักษณะในขอบเขตที่จะสังเกตโดยกำหนดให้เป็นตัวเลขหรือบรรยายระดับคุณภาพ
1.6 การสัมภาษณ์ เป็นการสัมภาษณ์ผู้เรียนที่จะได้ข้อมูลที่ต่อให้เกิดความเข้าใจเด็กอย่างลึกซึ้ง การสัมภาษณ์จะช่วยให้ครูได้ข้อมูลสำหรับการตัดสินใจในพัฒนาการของผู้เรียนและยังช่วยให้ครูเชื่อมโยงกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้และความเข้าใจของผู้เรียนได้เป็นอย่างดี
2. การประเมินกระบวนการและผลผลิตของผู้เรียน (Process and Product)
เกณฑ์การประเมินหรือแนวทางการให้คะแนน (Rubric Assessment) เครื่องมือที่ใช้เป็นแนวทางประเมินการปฏิบัติงานของผู้เรียน เรียกว่า “รูบริค” (Rubric) คือ แนวทางการให้คะแนน (Scoring Guide) ที่กำหนดมาตรวัด (Scale) และรายการของคุณลักษณะสมรรถภาพหรือประเด็นการประเมินที่บรรยายถึงความสามารถในการแสดงออกแต่ละจุดในมาตรวัดไว้อย่างชัดเจน โดยแบ่งออกเป็นระดับ
การให้คะแนนของรูบริค คือ การตอบคำถามว่า ผู้เรียนทำอะไร ได้สำเร็จหรือมีระดับความสำเร็จในขั้นต่าง ๆ กันหรือมีผลงานเป็นอย่างไรนั่นเอง การให้คะแนนรูบริคมี 2 แบบ คือ
2.1) การให้คะแนนเป็นภาพรวม (Holistic Seore) คือ การให้คะแนนงานชิ้นใดชิ้นหนึ่งโดยดูภาพรวมของชิ้นงาน ว่ามีความเข้าใจความคิดรวบยอดการสื่อความสำเร็จของงานเป็นชิ้น ๆ โดยอาจจะแบ่งระดับคุณภาพ การให้คะแนน รูบริค อาจแบ่งวิธีการให้คะแนนหลายวิธี เช่น
วิธีที่ 1 แบ่งงานตามคุณภาพ เป็น 3 กอง คือ
กองที่ 1 ได้แก่ งานที่มีคุณภาพเป็นพิเศษและเขียนอธิบายลักษณะงานที่มีคุณภาพเป็นพิเศษ
กองที่ 2 ได้แก่ งานที่ยอมรับได้และเขียนอธิบายลักษณะของงานที่ยอมรับได้
กองที่ 3 ได้แก่ งานที่ยอมรับได้น้อยหรือยอมรับไม่ได้ และเขียนอธิบายลักษณะของงานที่ยอมรับได้น้อย
จากนั้นนำแต่ละกองมาให้คะแนน 2 ระดับ คือ
งานกองที่ 1 จะได้คะแนน 6 หรือ 5
งานกองที 2 จะได้คะแนน 4 หรือ 3
งานกองที่ 3 จะได้คะแนน 2 หรือ 1
งานที่ใช้ไม่ได้หรือไม่ใช้ความพยายามเลย ให้คะแนน 0
วิธีที่ 2 กำหนดระดับการผิดพลาด โดยพิจารณาจากความบกพร่องของคำตอบว่า มีมากน้อยเพียงใด แล้วหักจากระดับคะแนนสูงสุดมาทีละระดับ
คะแนน 4 หมายถึง คำตอบถูก แสดงเหตุผลถูกต้อง แนวคิดชัดเจน
คะแนน 3 หมายถึง คำตอบถูก แสดงเหตุผลถูกต้อง อาจมีข้อผิดพลาดเล็กน้อย
คะแนน 2 หมายถึง เหตุผลหรือการคำนวณผิดพลาด แต่มีแนวทางที่จะนำไปสู่คำตอบ
คะแนน 1 หมายถึง แสดงวิธีคิดเล็กน้อยแต่ไม่ได้คำตอบ
คะแนน 0 หมายถึง ไม่ตอบหรือตอบไม่ถูกเลย
วิธีที่ 3 กำหนดระดับคำอธิบาย เช่น
4 หมายถึง การสาธิตหรือการแสดงออกให้เห็นถึงการเข้าใจสมบูรณ์ครบถ้วนถูกต้องแม่นยำ ในหลักความคิดรวบยอด ข้อเท็จจริงของงานหรือสถานการณ์ที่กำหนดทั้งเสนอแนวคิดใหม่ที่แสดงถึงความเข้าใจอย่างลึกซึ่งถึงกฎเกณพ์หรือลักษณะของข้อมูล
3 หมายถึง การแสดงออกให้เห็นถึงการเข้าใจที่สมบูรณ์ ครบถ้วนถูกต้องในหลักการ ความคิดรวบยอด ข้อเท็จจริงของงานหรือสถานการณ์ที่กำหนด
2 หมายถึง การแสดงออกให้เห็นถึงการเข้าใจไม่สมบูรณ์ ครบถ้วนถูกต้องในหลักการ ความคิดรวบยอด ข้อเท็จจริง หรือสถานการณ์ ที่กำหนดน้อยมากและเข้าใจไม่ถูกต้องในบางส่วน
1 หมายถึง การแสดงออกให้เห็นการเข้าใจหลักการ ความคิดรวบยอด ข้อเท็จจริงของงานหรือสถานการณ์ที่กำหนดน้อยมากและเข้าใจไม่ถูกต้องในบางส่วน
0 หมายถึง ไม่แสดงความคิดเห็นใด ๆ
2.2) การให้คะแนนแบบแยกองค์ประกอบ (Analytic Score) เป็นการประเมินแบบแยกองค์ประกอบของการให้คะแนนและอธิบายคุณภาพของงานในแต่ละองค์ประกอบเป็นระดับ ซึ่งจะมีการแยกองค์ประกอบของงานเป็น 4 ด้าน คือ
2.1 ความเข้าใจในความคิดรวบยอด ข้อเท็จจริง เป็นการแสดงให้เห็นว่าผู้เรียนเข้าใจในความคิดรวบยอด หลักการตอบปัญหาที่ถามอย่างกระจ่างชัด
2.2 การสื่อความหมาย สื่อสาร คือ ความสามารถในการอธิบายนำเสนอการบรรยายเหตุผล แนวคิดให้ผู้อื่นเข้าใจ ได้ดีมีความคิดสร้างสรรค์
2.3 การใช้กระบวนการและยุทธวิธี สามารถเลือกใช้ยุทธวิธีกระบวนการที่นำไปสู่ความสำเร็จได้อย่างประสิทธิภาพ
2.4 ผลเร็จของงาน ความถูกต้องแม่นยำในผลสำเร็จของงานหรืออธิบายที่มาและตรวจสอบผลงานได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น