วันอาทิตย์ที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2562

เนื้อหาบทที่ 6


บทที่ 6
การบรูณาการความรู้  (Integrated  Knowledge )
          I :   การบูรณาการความรู้  (Integrated  Knowledge)  การเชื่อมโยงความรู้ที่เกี่ยวข้องภายในศาสตร์ต่าง ๆ  ของรายวิชาเดียวกันหรือหลากหลายวิชาเพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตจริง   ในการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ  (Integrated  learning  Management) เป็นกระบวนการจัดประสบการณ์โดยเชื่อมโยงสาระความรู้ของศาสตร์ต่าง      ที่เกี่ยวข้องให้ผู้เรียนได้รับความรู้  ทักษะ  และเจตคติ
          การบูรณาความรู้หมายถึง  การโยงความรู้  หรือการสร้างความสัมพันธ์และรวมแนวคิดเป็นหนึ่งเดียวในสถานการณ์ต่างๆ  การบูรณาการทำให้ผู้เรียนได้รับความรู้เป็นอันหนึ่งเดียวกัน  และเป็นความรู้ที่ลุ่มลึกและยั่งยืน  การบูรณาการความรู้เป็นสิ่งจำเป็น โดยเฉพาะในยุคที่มีความรู้  ข้อมูล ข่าวสารมาก  การบูรณาการความรู้อาจเขียนเป็นลำดับความสัมพันธ์ได้ดังนี้  เริ่มจาก ข้อมูล (data) สารสนเทศ  (information) ความรู้ (Knowledge)    ปัญญา (wisdom)  เป้าหมายหลักของการเรียนคือเพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้สิ่งที่ถือว่าสำคัญ
ในหลักสูตรเรียกว่า  หลักสูตรบูรณาการ   (Integrated  Curricula) โดยนำความคิดหลักในวิชามาสัมพันธ์กันเป็นการเชื่อมโยงในแนวนอน  ระหว่างหัวข้อ  และเนื้อหาต่าง ๆ   ที่เป็นความรู้  ทั้ง 3  ด้าน ได้แก่  พุทธิพิสัย  ทักษะพิสัย  และจิตพิสัย  และสัมพันธ์กับวิชาอื่น   
แนวการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ
          การพัฒนาผู้เรียนตามความสามารถที่แตกต่างกันจำเป็นต้องพัฒนาความสามารถทุกด้าน  ตามแนวคิดของการ์ดเนอร์ (Gardner อ้างใน  วิชัย  วงษ์ใหญ่ , 2542 :  8-11) นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน ได้นำเสนอทฤษฎีพหุปัญญา  (multiple  intelligence  theory)  สรุปได้ว่า   ผู้เรียนมีความสามารถทั้ง  8  ด้าน คือ  ด้านภาษา  ด้านตรรกและคณิตศาสตร์ ด้านภาพมิติสัมพันธ์  ด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว  ด้านดนตรี  ด้านมนุษยสัมพันธ์  ด้านการเข้าใจตนเอง และด้านความเข้าใจสภาพธรรมชาติ   เพื่อสนับสนุนช่วยเหลือความสามารถในแต่ละด้านของผู้เรียนให้พัฒนาไปให้เต็มศักยภาพของตน
          แนวทางการจัดการเรียนรู้ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ  พ.ศ.  2542  มาตร  23 ระบุว่า  การจัดการศึกษาต้องเน้นความสำคัญทั้งความรู้  คุณธรรม  กระบวนการเรียนรู้และบูรณาการ  ซึ่งวิชัย  วงษ์ใหญ่  (2547 :  2) กล่าวว่า  การบูรณาการ  คือ  การผสมผสานที่กลมกลืนกันอย่างมีคุณภาพ  ระหว่างองค์ประกอบหรือ ปัจจัยต่าง ๆ  ทั้งรูปธรรมและนามธรรมที่มีเป้าหมายตรงกัน  เพื่อให้ได้มาสิ่งใหม่หรือสภาพใหม่ที่มีค่าและสมบูรณ์แบบ  ได้ประโยชน์จากการบูรณาการสู่ชีวิตและการเรียนรู้
          การบูรณาการการเรียนรู้ คือ  การเชื่อมโยงระหว่างสาขาวิชาต่าง ๆ  ในหลักสูตร  จะช่วยให้ผู้เรียนตระหนักว่าสิ่งไหนที่ได้เรียนรู้ มีประโยชน์สามารถประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง  ลักษณะการเรียนรู้จะจัดเป็นหน่วยการเรียนรู้หรือเป็นหัวเรื่อง
          หน่วยบูรณาการ  thematic  approach  กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้คือ 
                   -ผู้เรียนเรียนรู้อย่างมีความหมาย
                   -เกิดองค์ความรู้  ความคิดแบบองค์รวม  พัฒนาความสามารถการคิด
                   -เห็นความเชื่อมโยง   นำไปสู่ความสามารถในการแก้ปัญหาแบบองค์รวม
                   -เกิดประสบการณ์  นำความรู้ไปใช้ในชีวิตจริง  สามารถปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อม
                   -ผู้เรียนควบคุมการเรียนรู้ของตนเอง
          วิชัย  วงษ์ใหญ่  (2547 : 4)  กล่าวสรุปได้ว่า  ลักษณะบูรณาการ  4  แบบ  คือ
                   1. การสอดแทรก  (infusion)  การบูรณาการแบบเชื่อมโยงโดยผู้สอนคนเดียว  วิธีการสอดแทรกนี้ผู้สอนวิชาใดวิชาหนึ่งนำวิชาอื่น      มาบูรณาการกับวิชาที่ตนสอนและสามารถเชื่อมโยงสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ ให้เชื่อมโยงกับหัวเรื่อง  ชีวิตจริงหรือภาระการเรียนรู้ที่กำหนดขึ้นมา
                   2. คู่ขนาน (parallel)  วิธีการคู่ขนานผู้สอนหลายคนมาจากหลายวิชามาวางแผนร่วมกัน  เพื่อรวมองค์ประกอบของหัวเรื่อง  (theme)  มโนทัศน์  (concept)  หรือปัญหา  (problem)  แล้วผู้สอนแต่ละคน  แต่ละวิชาแยกกันและการกำหนดชิ้นงานขึ้นอยู่กับผู้สอน  ผู้สอนอาจตกลงกันว่าจะยึดเกี่ยวกับหัวเรื่องหรือปัญหาที่กำหนดไว้ร่วมกัน
                   3. พหุวิทยาการ  (multidisciplinary)  วิธีการพหุวิทยาการผู้สอนหลายคนมาจากหลายสาขาวิชามาวางแผนร่วมกันที่จะสอนเกี่ยวกับหัวเรื่อง  (theme)  มโนทัศน์  (concept)  หรือปัญหา  (problem)   และกำหนดภาพรวมของโครงการร่วมกันให้ออกมาเป็นชิ้นงานแบ่งโครงการออกเป็นโครงการย่อย  การบูรณาการในหลายสาขาผู้สอนร่วมกันได้หลายชั่วโมง
                   4. การข้ามวิชาหรือการสอนเป็นทีม (transdisciplinary)  วิธีการข้ามสอนหรือสอนเป็นทีมผู้สอนแต่ละรายวิชามาว่างแผนร่วมกันในองค์ประกอบของ   หัวเรื่อง  (theme) มโนทัศน์  (concept)  หรือปัญหา  (problem)  กำหนดเป็นโครงการขึ้นมาและร่วมกันสอนเป็นคณะ
          กรมการวิชาการ  (กองวิจัยทางการศึกษา  กรมวิชาการ , 2545  :  6-7)  เสนอแนวคิดในการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการไว้  ดังนี้
          1. การบูรณาการแบบผู้สอนคนเดียว  เป็นการจัดการเรียนการสอนของครูผู้สอนหนึ่งคน  มีการเชื่อมโยงสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ  กับชีวิตจริง  หรือการเชื่อมโยงสาระและกระบวนการเรียนรู้ภายในกลุ่มสาระต่าง ๆ  เช่น  การอ่าน  การเขียน  คิดคำนวณ  การคิดวิเคราะห์  ทำให้ผู้เรียนได้ใช้ทักษะและกระบวนการเรียนรู้ไปแสวงหาความรู้ความจริงจากหัวเรื่องที่กำหนด
          2. การบูรณาแบบคู่ขนาน  เป็นการจัดการเรียนการสอนของครูผู้สอนสองคนขึ้นไป ร่วมกันจัดการเรียนการสอน  โดยยึดหัวข้อใดหัวข้อหนึ่ง
          3. การบูรณาแบบสหวิทยาการ  เป็นการจัดการเรียนการสอนจากการนำเนื้อหาจากหลายกลุ่มสาระเชื่อมโยงและจัดการเรียนการสอนร่วมกันในเรื่องเดียวกัน
          4. การบูรณาการแบบโครงการ  เป็นการจัดการเรียนการสอนที่ครูสอนและนักเรียนร่วมกันสร้างสรรค์โครงการ และการใช้เวลาเรียนต่อเนื่องกันได้หลายชั่วโมง   โดยนำจำนวนชั่งโมงของตาละรายวิชาที่แยกกันอยู่  ที่เคยแยกกันสอน  มารวมเป็นเรื่องเดียวกัน
          วิชัย  วงษ์ใหญ่  (2547  :  5)  สรุปภาพรวมของรูปแบบการเรียนการสอนแบบบูรณาการ  วิธีการ  กิจกรรม  การประเมินผล และผลการเรียนรู้  ไว้ดั้งนี้

https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEgA-DYNiDXtwPCtdB5lCvhBBK-A6wkIWWlynyUXweyVb1acmlIYyId3NJt3pIaGae0IBIFddiyA0s-GcspvQsapybtg_Ra1DkM34BukziMqtamV3xMfM6tN3uoBC2CBnfU8gacmTwAFdnw/s640/%25E0%25B8%25AA%25E0%25B9%2584%25E0%25B8%25A5%25E0%25B8%2594%25E0%25B9%258C1.JPG



การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
          เทคนิคการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนสร้างความรู้ด้วยตนเอง
          การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  หมายถึง การจัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียนมีบทบาทสำคัญในการเป็นผู้เรียนรู้  โดยพยายามจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้สร้างความรู้  ได้มีปฏิสัมพันธ์กับบุคคล  สื่อ  และสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ  โดยใช้กระบวนการต่าง ๆ  เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้และผู้เรียนมีโอกาสนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์อื่น  การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  แต่การที่ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้ขึ้นมาได้เองนั้นเป็นเรื่องยาก  ผู้สอนจึงมีหน้าที่เตรียมจัดสถานการณ์และกิจกรรมต่าง ๆ  นำไปสู่การเรียน  โดยไม่ใช้วิธีบอกความรู้โดยตรง รวมถึงการแนะนำแนวทางที่จะทำงานให้สำเร็จ  และในขณะที่ผู้เรียนลงมือปฏิบัติ  ผู้สอนควรสังเกตการณ์อยู่ด้วย
          เทคนิคการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนทำงานร่วมกับผู้อื่น
          ความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของผู้สอนประการหนึ่ง คือ  ผู้สอนเข้าใจว่าการจัดการเรียนการสอนแบบนี้ต้องจัดโต๊ะเก้าอี้ให้นักเรียนทำงาน  โดยไม่เข้าใจว่าการนั่งรวมกลุ่มกันนั้นทำเพื่ออะไร  ความเข้าใจที่ถูกต้องคือ  เมื่อผู้เรียนจะต้องทำงานร่วมกัน  จึงจัดเก้าอี้ให้นั่งรวมกลุ่ม  ไม่นั่งร่วมกลุ่มแต่ต่างคนต่างทำงานของตัวเอง  ซึ่งรูแบบการจัดการเรียนการสอนประเภทหนึ่งที่ผู้สอนควรศึกษาเป็นแนวทางนำไปใช้เป็นเทคนิค  ในการจัดกิจกรรม  คือ รูปแบบการจัดการเรียนการสอนโดยผู้เรียนรู้ร่วมกัน  (Cooperative  Learning) 
          วิทยากร  เชียงกูล  (2549)  ได้กล่าวถึงลักษณะการจัดการเรียนการสอนโดยให้ผู้เรียนเรียนรู้ร่วมกัน  เป็นการจัดการเรียนการสอนที่แบ่งผู้เรียนออกเป็นกลุ่มย่อย ๆ  กลุ่มละ  4-5 คน  โดยสมาชิกในกลุ่มมีระดับความสามารถแต่งต่างกัน
          เทคนิคการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
          ตามความหมายของการเรียนรู้ที่แท้จริง  คือ  ผู้เรียนต้องมีโอกาสนำความรู้ที่เรียนรู้มาไปใช้ในการดำเนินชีวิต  สิ่งที่เรียนรู้กับชีวิตจริงจึงต้องเป็นเรื่องราวเดียวกัน  ผู้สอนสามารถจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนประยุกต์ใช้ความรู้ได้โดยสร้างสถานการณ์ให้ผู้เรียนต้องแก้ปัญหาและนำความรู้ที่เรียนมาประยุกต์ใช้เพื่อให้เกิดความชำนาญ
          ตัวอย่างวิธีการสอนโดยใช้โครงงานเป็นฐาน  ผู้สอนควรเป็นผู้กำกับควบคุมให้ผู้เรียนทุกคนได้ร่วมกันวางแผน  ดำเนินการตามแผน   และร่วมกันสรุปผลงาน  ผู้เรียนแต่ละคนจะได้เลือกและแสดงความสามารถที่ตนเองถนัด  เพื่อให้งานบรรลุเป้าหมาย  จึงสามารถกล่าวขยายความได้ว่า  การเรียนรู้โดยใช้โครงงาน  ซึ่งสามารถทำอย่างต่อเนื่องกันได้  โดยมีประเด็นดังนี้
                   1. ผู้เรียนได้เรียนรู้เรื่องใดหนึ่งที่ตนเองสนใจ
                   2. ผู้เรียนได้เรียนรู้หรือหาคำตอบด้วยตนเอง  โดยการคิดและปฏิบัติจริง
                   3. วิธีการหาคำตอบมีความหลากหลายจากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย
                   4. นำข้อมูลหรือข้อความรู้จากการศึกษามาสรุปเป็นคำตอบหรือข้อค้นพบของตนเอง
                   5. มีระยะเวลาในการศึกษาหรือแสวงหาคำตอบพอสมควร
                   6. คำตอบหรือข้อค้นพบเชื่อมโยงต่อการพัฒนาความรู้ต่อไป
                   7. ผู้เรียนมีโอกาสเลือก  วางแผน  และจัดการนำเสนอคำตอบของปัญหาหรือผลการค้นพบด้วยวิธีการที่หลากหลายและสอดคล้องกับความถนัดและความสนใจของตนเอง
การบูรณาการตามตัวชี้วัดการประกันคุณภาพการศึกษา
          สำนักงาน  คณะกรรมการอุดมศึกษา(2553 หน้า  119-128) การบูรณาการตามตัวชี้วัดการประกันคุณภาพการศึกษา มีลักษณะดังนี้  (อ้างถึงใน  สำนักบริการวิชาการและจัดหารายได้ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร )
          1. การบูรณาการงานวิจัยกับการเรียนการสอน  มีการบูรณาการดังนี้
                   1.1 กรณีที่นักศึกษาบัณฑิตศึกษาเป็นทีมวิจัยของอาจารย์  โดยอาจารย์มีงานวิจัยในลักษณะชุดโครงการวิจัยที่เป็นร่มใหญ่และงานวิจัยย่อย ๆ  โดยนักศึกษาเข้าเป็นทีมในการวิจัยของอาจารย์ในชุดย่อย ๆ  และมีอาจารย์ซึ่งเป็นหัวหน้าโครงการชุดใหญ่   ให้คำแนะนำปรึกษา  ทำให้นักศึกษาเกิดทักษะในกระบวนการทำวิจัย
                   1.2 กรณีที่นักศึกษาปริญญาตรีทำโครงการวิจัย หรืองานสร้างสรรค์ ซึ่งเกี่ยวข้องกับงานวิจัย  หรืองานสร้างสรรค์ของอาจารย์  เป็นการออกแบบการเรียนการสอนด้วยการมอบหมายงานนักศึกษาในรูปแบบที่เป็นองค์ประกอบงานวิจัย  โดยมีอาจารย์ควบคุมการ  ดำเนินงานเป็นระยะ ๆ 
                   1.3 กรณีที่นักศึกษาทุกระดับ  ปริญญาตรี  โท  และเอก  เข้าฟังการบรรยายหรือสัมมนา  เกี่ยวกับผลความก้าวหน้าในงานวิจัยของอาจารย์คือ  เข้าร่วมการจัดการแสดงงานสร้างสรรค์ของอาจารย์  เพื่อให้นักศึกษาได้รับประสบการณ์โดยตรงจากผู้เชี่ยวชาญ
                   1.4 จัดให้มีการประชุมนำเสนอผลงานวิจัยหรือแสดงงานสร้างสรรค์ของนักศึกษา หรือส่งเสริมนักศึกษาเข้าร่วมประชุมการเสนอผลงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ระดับชาติและนานาชาติ 
                   1.5 การส่งเสริมให้อาจารย์นำผลลัพธ์ที่เกิดจากการวิจัยไปเป็นส่วนหนึ่ง  ของเนื้อหาในการจัดการเรียนการสอน หมายถึง   อาจารย์มีผลงานวิจัยที่สอดคล้องกับรายวิชาที่สอนและนำองค์ความรู้ที่เป็นข้อค้นพบจากงานวิจัยมาใช้ประกอบการจัดการเรียนการสอน
          2. การบูรณาการงานบริการวิชาการแก่สังคม การบริการวิชาการหมายถึง  กิจกรรมหรือโครงการให้บริการแก่สังคมภายนอกสถาบันหรือเป็นการให้บริการที่จัดในสถาบันแต่ต้องเป็นการจัดให้กับบุคคลภายนอก ประเภทของการบริการวิชาการมีดังนี้  ประเภทให้เปล่าโดยไม่มุ่งเน้นผลกำไร    ในการบูรณาการวิชาการ  แก่สังคม  สามารถดำเนินการได้ดังนี้
                   2.1 การบูรณาการงานบริการทางวิชาการแก่สังคมกับการเรียนการสอนเป็นการจัดกระบวนการเรียนการสอนปกติ  และมีการกำหนดให้นักศึกษานำความรู้ที่ได้รับจัดทำเป็นโครงการหรือกิจกรรม
                   2.2 การบูรณาการงานการบริการทางวิชาการแก่สังคมกับการวิจัยเป็นการนำองค์ความรู้จากงานวิจัยไปสู่การใช้ประโยชน์ หรือการนำความรู้  และประสบการณ์จากการบริการวิชาการกลับมาพัฒนาต่อยอดความรู้ใหม่โดยผ่านกระบวนการวิจัย
          3. การบูรณาการงานด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมกับการเรียนการสอน  สถาบันควรสนับสนุนให้มีการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมไปบูรณาการร่วมกับการเรียนการสอน  คือมีการจัดการเรียนการสอนที่นำการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมไปผสมผสานเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมการเรียนการสอน
การเรียนการสอนที่เน้นกระบวนการ
          นักการศึกษาไทยได้พยายามที่จะเสนอ  แนวคิดเพื่อการพัฒนาการศึกษาและการเรียนการสนองของไทยมาตลอด  ในหนังสือนี้ได้ประมวลแนวคิดที่น่าสนใจเกี่ยวกับกระบวนการต่าง ๆ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนมานำเสนอ ได้แก่
          1. กระบวนการแก้ปัญหาตามหลักอริยสัจ 4 โดย  สาโรช  บัวศรี
          2. กระบวนการกัลยาณมิตร  โดย  สมุน  อมรวิวัฒน์
          3. กระบวนการทางปัญญา  โดยประเวศ  วะสี
          4. กระบวนการคิด  โดย ชัยอนันต์  สมุทวณิช
          5. กระบวนการคิด  โดย เกรียงศักดิ์  เจริญวงศ์ศักดิ์
          6. มิติการคิดและกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ  โดย ทิศนา  แขมมณี และคณะ
          7. กระบวนการสอนค่านิยมและจริยธรรม โดย  โกวิท ประวาลพฤกษ์
          8. กระบวนการต่าง ๆ  โดย  กรมวิชาการ  กระทรวงศึกษาธิการ
                   8.1 ทักษะกระบวนการ  9  ขั้น
                   8.2 กระบวนการสร้างความคิดรวบยอด
                   8.3 กระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
                   8.4 กระบวนการแก้ปัญหา
                   8.5 กระบวนการสร้างความตระหนัก
                   8.6 กระบวนการปฏิบัติ
                   8.7 กระบวนการคณิตศาสตร์
                   8.8 กระบวนการเรียนภาษา
                   8.9 กระบวนการกลุ่ม
                   8.10 กระบวนการสร้างเจตคติ
                   8.11 กระบวนการสร้างค่านิยม
                   8.12 กระบวนการเรียนรู้ความเข้าใจ
          1. กระบวนการแก้ปัญหาตามหลักอริยสัจ 4 โดย สาโรช  บัวศรี
          สาโรช  บัวศรี  (2526) มีนักศึกษาไทยผู้มีชื่อเสียงและประสบการณ์สูงในวงการศึกษาท่านนี้เป็นผู้ริเริ่มจุดประกายความคิดในการนำหลักพุทธธรรมมาใช้ในการเรียนการสอนมานานกว่า 20ปีมาแล้ว  โดยการประยุกต์หลักอริยสัจ  4  อันได้แก่  ทุกข์ สมุทัย  นิโรธ  และมรรค  มาใช้เป็นกระบวนการแก้ไขปัญหา  โดยใช้ควบคู่กับแนวทางปฏิบัติที่เรียกว่า  “กิจในอริยสัจ 4 ”  อันประกอบด้วยปริญญา  (การกำหนดรู้)  ปหานะ  (การละ) สัจฉิกิริยา (การทำให้แจ้ง)  และภาวนา  (การเจริญหรือการลงมือปฏิบัติ)
          2. กระบวนการกัลยณมิตร  โดย  สุมน  อมรวิวัฒน์
          สุมน  อมรวิวัฒน์ (2524 :  196 - 199)  ราชบัณฑิต   สำนักธรรมศาสตร์และการเมือง   สาขาการศึกษาคณะครุศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติศักดิ์   จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  และกิตติเมธีของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช  ได้อธิบายกระบวนการกัลยาณมิตรไว้ว่า  เป็นกระบวนการประสานสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเพื่อจุดมุ่งหมาย  2  ประการ  คือ  1. ชี้ทางบรรเทาทุกข์   2.  ชี้สุขเกษมศานติ์ กระบวนการกัลยาณมิตรใช้หลักการที่พิสูจน์แล้วว่าเป็นหลักที่ช่วยให้คนพ้นทุกข์  ซึ่งมีกระบวนการหรือขั้นตอน  8  ขั้นด้วยกันดังนี้
          2.1  หาสร้างความไว้ใจตามหลักกัลยาณมิตรธรรม 7 ได้แก่ การที่ผู้สอนวางตนให้เป็นที่น่าเคารพรัก  เป็นที่พึ่งแก่ผู้เรียนได้  มีความรู้และฝึกหัดอบรมและปรับปรุงตนเองอยู่เสมอ
          2.2  การกำหนดและจับประเด็นปัญหา (ขั้นทุกข์)
          2.3  การร่วมกันคิดวิเคราะห์เหตุของปัญหา  (ขั้นสมุทัย)
          2.4  การจัดลำดับความเข้มของระดับปัญญา  (ขั้นสมุทัย)
          2.5  การกำหนดจุดหมาย หรือสภาวะพ้นปัญญา  (ขั้นนิโรธ)
          2.6  การร่วมกันคิดวิเคราะห์ความเป็นไปได้การแก้ปัญหา (ขั้นนิโรธ)
          2.7  การจัดลำดับจุดหมายของภาวะพ้นปัญหา  (ขั้นนิโรธ)
          2.8  การปฏิบัติเพื่อแก้ปัญหาตามแนวทางที่ถูกต้อง  (ขั้นมรรค)

3. กระบวนการทางปัญญา  โดย  ประเวศ  วะสี
ประเวศ  วะสี (2542)  นักคิดคนสำคัญของประเทศไทย  ผู้มีบทบาทอย่างมากในการกระตุ้นให้เกิดการปฏิรูปการศึกษาขึ้น ท่านได้เสนอกระบวนการทางปัญญา  ซึ่งควรฝึกฝนให้แก่ผู้เรียน ประกอบด้วยขั้นตอน  10  ขั้น ดังนี้
          3.1  ฝึกสังเกตให้ผู้เรียนมีโอกาสสังเกตสิ่งต่าง ๆ  ให้มาก ให้รู้จักสังเกตสิ่งแวดล้อมรอบตัว
          3.2  ฝึกบันทึก  ให้ผู้เรียนสังเกตสิ่งต่าง ๆ  และจดบันทึกรายละเอียดที่สังเกตเห็น
          3.3  ฝึกการนำเสนอต่อที่ประชุม  เมื่อผู้เรียนได้ไปสังเกตหรือทำอะไร หรือเรียนรู้อะไรมาให้ฝึกนำเสนอเรื่องนั้นต่อที่ประชุม
          3.4  ฝึกการฟัง  การฟังผู้อื่นช่วยให้ได้ความรู้มาก  ผู้เรียนจึงควรได้รับการฝึกให้เป็นผู้ฟังที่ดี
          3.5  ฝึกปุจฉา วิสัชนา  ให้ผู้เรียนฝึกการถาม –  การตอบ ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดความแจ่มแจ้ง  ในเรื่องที่ศึกษา  รวมทั้งได้ฝึกการใช้เหตุผล  การวิเคราะห์และการสังเคราะห์
          3.6  ฝึกการตั้งสมมติฐานและตั้งคำถาม
          3.7  ฝึกการค้นหาคำตอบ
          3.8  ฝึกการวิจัย
          3.9  ฝึกเชื่อมโยงบูรณาการ
          3.10  ฝึกการเขียนเรียบเรียงทางวิชาการ
4. กระบวนการคิดโดย   ชัยอนันต์  สมุทวณิช
ชัยอนันต์  สมุทวณิช  (2542 :  4 - 5)  นักรัฐศาสตร์  และราชบัณฑิต  สำนักธรรมศาสตร์และการเมือง  และผู้บังคับการวชิราวุธวิทยาลัย  นักคิดผู้มีชื่อเสียงของประเทศไทย  ซึ่งหันมาสนใจและพัฒนางานทางด้านการศึกษาอย่างจิงจัง   ลักษณะของนักคิดทั้ง 4  แบบดังนี้ 
          4.1  การคิดแบบนักวิเคราะห์  (analytical)
          4.2  การคิดแบบรวบยอด  (conceptual)
          4.3 การคิดแบบโครงสร้าง  (structural  thinking)
          4.4  การคิดแบบผู้นำสังคม   (social   thinking )

5.  มิติการคิดและกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ  โดย ทิศนา  แขมมณี  และคณะ

ทิศนา  แขมมณี  และคณะ (2543) ได้ศึกษาค้นคว้าและจัดมิติของการคิดไว้  6  ด้านคือ 
          5.1  มิติด้านข้อมูลหรือเนื้อหาที่ใช้ในการคิด  การคิดของบุคคลจะเกิดขึ้นได้  จำเป็นต้องมีองค์ประกอบอย่างน้อย  2  ส่วน คือ  เนื้อหาที่ใช้ในการคิดและกระบวนการคิด
          5.2  มิติด้านคุณสมบัติที่เอื้ออำนวยต่อการคิด  ได้แก่ คุณสมบัติส่วนบุคคล  ซึ่งมีผลโดยตรงหรือโดยอ้อมต่อการคิด
          5.3  มิติด้านทักษะการคิด  หมายถึง  กระบวนการหรือขั้นตอนที่บุคคลใช้ในการคิด     
          5.4  มิติด้านลักษณะการคิด
          5.5  มิติด้านกระบวนการคิด
          5.6  มิติด้านการครบคุมและประเมินการคิดของตน
          กระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
          จุดมุ่งหมายของการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
          1. สามารถกำหนดเป้าหมายในการคิดอย่างถูกต้อง
          2. สามารถระบุประเด็นในการคิดอย่างชัดเจน
          3. สามารถประมวลข้อมูล  ทั้งทางด้านข้อเท็จจริง  และความคิดเห็นเกี่ยวกับที่คิด  ทั้งทางด้านกว้าง  ทางลึก  และไกล
          4. สามารถวิเคราะห์ข้อมูล  และเลือกข้อมูลที่จะใช้ในการคิดได้
          5. สามารถประเมินข้อมูลได้
          6.สามารถใช้หลักเหตุผลในการพิจารณาข้อมูล  และเสนอคำตอบ/ทางเลือกที่สมเหตุสมผลได้
          7. สามารถเลือกทางเลือก/ลงความเห็นในประเด็นที่คิดได้
6.  กระบวนการคิดโดย เกรียงศักดิ์  เจริญวงศ์ศักดิ์
เกรียงศักดิ์  เจริญวงศ์ศักดิ์  (2542 ข : 3 - 4)  ผู้อำนวยการสถาบันอนาคตศึกษาเพื่อพัฒนาต่อไปได้โดยไม่เสียเปรียบ  ไม่ถูกหลอกง่าย  และสามารถคิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ได้  เราจึงจำเป็นต้องพัฒนาให้คนไทย “คิดเป็น”  คือรู้จักวิธีการคิดที่ถูกต้อง  และท่านได้เสนอแนะว่าควรมีการพัฒนาความสามารถในการคิด  10 มิติ  ดั้งนี้
          มิติที่ 1  ความสามารถในการคิดเชิงวิพากษ์
          มิติที่ 2  ความสามารถในการคิดเชิงวิเคราะห์
          มิติที่ 3  ความสามารถในการคิดเชิงสังเคราะห์
          มิติที่ 4  ความสามารถในเชิงเปรียบเทียบ
          มิติที่ 5  ความสามารถในการคิดเชิงมโนทัศน์
          มิติที่ 6  ความสามารถในการคิดเชิงสร้างสรรค์
          มิติที่ 8  ความสามารถในการคิดเชิงกลยุทธ์
          มิติที่ 9  ความสามารถในการคิดเชิงบูรณาการ
          มิติที่ 10  ความสามารถในการคิดเชิงอนาคต
7. กระบวนการสอนค่านิยมและจริยธรรม  โดย  โกวิท ประวาลพฤกษ์
โกวิท  ประวาลพฤกษ์  (2532)  นักวิชาการคนสำคัญท่านหนึ่งในวงการศึกษาได้เสนอความคิดเกี่ยวกับการพัฒนาค่านิยมและจริยธรรมไว้ว่า  ควรเริ่มต้นด้วยการพัฒนาเหตุผลเชิงจริยธรรม  และดำเนินการสอนตามขั้นตอนดังนี้
          7.1  กำหนดพฤติกรรมทางจริยธรรมที่พึงปรารถนา
          7.2  เสนอตัวอย่างพฤติกรรมในปัจจุบัน
          7.3  ประเมินปัญหาเชิงจริยธรรม
          7.4  แลกเปลี่ยนผลการประเมิน
          7.5  ฝึกพฤติกรรม โดยมีผลสำเร็จ
          7.6  เพิ่มระดับความขัดแย้ง
          7.7  ให้ผู้เรียนประเมินตนเอง
          7.8  กระตุ้นให้ผู้เรียนยอมรับตนเอง
8. การจัดการเรียนการสอนเน้นกระบวนการ  โดย  กรมวิชาการ  กระทรวงศึกษาธิการ
กรมวิชาการ  กระทรวงศึกษาธิการ  ได้เสนอแนะการจัดการเรียนการสอน  12 กระบวนการด้วยกัน  ดังนี้  (กรมวิชาการ 2534)
          8.1  ทักษะกระบวนการ  (9  ขั้น)
          8.2  กระบวนการสร้างความคิดรวบยอด
          8.3  กระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
          8.4  กระบวนการแก้ปัญหา
          8.5  กระบวนการสร้างความตระหนัก
          8.6  กระบวนการปฏิบัติ
          8.7  กระบวนการคณิตศาสตร์
          8.8  กระบวนการเรียนภาษา
          8.10  กระบวนการสร้างเจตคติ
          8.11  กระบวนการสร้างค่านิยม
          8.12  กระบวนการเรียนรู้ความเข้าใจ
สรุป
          การบูรณาการเป็นการนำศาสตร์สาขาวิชาต่าง ๆ  ที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันมาผสมผสานเข้าด้วยกัน  เนื้อหาวิชาต่าง ๆ  ที่ใกล้เคียงกันหรือเกี่ยวข้องกันควรนำมาเชื่อมโยงกัน  เพื่อให้เรียนรู้อย่างมีความหมาย  ลดความซ้ำซ้อนเชิงเนื้อหาวิชา  แนวคิดสำคัญที่ผู้สอนจะนำมาใช้เป็นเทคนิคในการจัดกิจกรรมกระตุ้นให้ผู้เรียน ได้นำข้อมูลหลากหลายที่เกิดจากการเรียนรู้ไปสัมพันธ์เชื่อมโยงก็คือแนวคิดเกี่ยวกับ      “การบูรณาการ”  เหตุที่ต้องจัดให้มีการบูรณาการหลักสูตรแลการเรียนการสอนคือ  ในชีวิตของคนเรามีเรื่องราวต่าง ๆ  ที่สัมพันธ์ซึ่งกันและกันไม่ได้แยกออกจากกันเป็นเรื่อง ๆ  เมื่อมีการบูรณาการเข้ากับชีวิตจริง โดยการเรียนรู้ในสิ่งที่ใกล้ตัวแล้วขยายกว้างออกไปผู้เรียนจะเรียนรู้ได้ดีขึ้นและเรียนรู้อย่างมีความหมาย  เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ใช้ความรู้   ความคิด  ความสามารถและทักษะที่หลากหลาย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

การวัดและประเมินผลทางการศึกษา

ความหมายของคำว่า การประเมินผล ( Evaluation)  ได้มีผู้ให้ความหมายไว้ ดังนี้             ชวาล แพรัตกุล  (2516 : 140) กล่าวว่า การประเมินผล ...