วันจันทร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2562

การวัดและประเมินผลทางการศึกษา


ความหมายของคำว่า การประเมินผล (Evaluation) ได้มีผู้ให้ความหมายไว้ ดังนี้
            ชวาล แพรัตกุล  (2516 : 140) กล่าวว่า การประเมินผล หมายถึง กระบวนการที่ครูนำทุกๆรายการที่ทราบจากการวัดไปใช้ โดยครูนำผลต่างๆ  จากการวัดผลเหล่านั้นมารวม มาชั่ง มาผสมเพื่อนำไปใช้ในการวินิจฉัย ตีราคาคุณค่าและชี้ขาดลงเป็นผลสรุปว่า  เด็กคนนั้นมีคุณภาพสูงหรือต่ำ ควรให้เป็นประเภทสอบได้หรือสอบตก เป็นต้น  ซึ่งการประเมินผลที่ดีต้องตั้งอยู่บน  รากฐานของการวัดที่ดี
            สมหวัง  พิริยานุวัฒน์ (2520 : 176) กล่าวว่า การประเมินผล หมายถึง กระบวนการตัดสินคุณค่าของสิ่งของหรือการกระทำใด ๆ โดยเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐาน
            ล้วน  สายยศ (2527 : 2) กล่าวว่า การประเมินผล หมายถึง กระบวนการพิจารณาตัดสินที่เป็นระบบ ครอบคลุมถึงจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้
            อีเบล และฟริสบาย (Ebel and Frisbie1986 : 13) กล่าวว่า การประเมินผล หมายถึงการตัดสินเกี่ยวกับคุณภาพหรือคุณค่าของสิ่งต่างๆ  ซึ่งบางครั้งอาจพิจารณาจากผลที่ได้จากการวัดเท่านั้นแต่ส่วนมากจะตัดสินคุณค่าของสิ่งต่างๆ โดยพิจารณาจากผลที่ได้จากการวัดด้านต่าง ๆ ประกอบกับหลักฐานด้านอื่น ที่เกี่ยวข้อง  และรวมถึงการใช้วิจารณญาณและความรู้สึกนึกคิดของผู้ประเมินมาประกอบในการตัดสินใจด้วย
            กรอนลันด์ (Gronlund 1976 : 6)  กล่าวว่า การประเมินผล  หมายถึง กระบวนการอย่างมีระบบ (Systematic Process) ที่อธิบายสิ่งที่ต้องการประเมินทั้งในเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ โดยประกอบกับการตัดสินคุณค่าให้กับสิ่งนั้น ซึ่งใช้การเปรียบเทียบกับเกณฑ์ หรือมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง
            จากความหมายของการประเมินผล สรุปว่า การประเมินผล คือ กระบวนการในการตัดสินใของผู้ประเมิน เพื่อจะตีค่า ตีราคา หรือให้คุณค่าแก่คุณลักษณะของคน สัตว์ สิ่งของ และสิ่งที่เป็นนามธรรม โดยข้อมูลที่ได้จากการวัดผล เป็นส่วนประกอบในการตัดสิน  เปรียบเทียบกับเกณฑ์อย่างใดอย่างหนึ่งอย่างมีหลักเกณฑ์และอาศัยการตัดสินที่มีคุณธรรม

การประเมินและการวัดอิงมาตรฐาน


          การประเมินและการประเมินผล  มีความหมายทำนองเดียวกับ  การวัดและการวัดผล ดังนี้
          การประเมิน เป็นกระบวนการต่อเนื่องจากการวัด คือ นำตัวเลขหรือสัญลักษณ์ที่ได้จากการวัดมาตีค่าอย่างมีเหตุผล โดยเทียบกับเกณฑ์หรือมาตรฐานที่กำหนดไว้ เช่น โรงเรียนกำหนดคะแนนที่น่าพอใจของวิชาคณิตศาสตร์ไว้ที่ร้อยละ 60 นักเรียนที่สอบได้คะแนนตั้งแต่ 60 % ขึ้นไป ถือว่าผ่านเกณฑ์ที่น่าพอใจ  หรืออาจจะกำหนดเกณฑ์ไว้หลายระดับ  เช่น ได้คะแนนไม่ถึงร้อยละ 40  อยู่ในเกณฑ์ควรปรับปรุง  ร้อยละ 40-59 อยู่ในเกณฑ์พอใช้  ร้อยละ 60-79 อยู่ในเกณฑ์ดี และร้อยละ 80 ขึ้นไป  อยู่ในเกณฑ์ดีมาก เป็นต้น  ลักษณะเช่นนี้เรียกว่าเป็นการประเมิน         
          การประเมินผล  มีความหมายเช่นเดียวกับการประเมิน  แต่เป็นกระบวนการต่อเนื่องจากการวัดผล
            สำหรับภาษาอังกฤษมีหลายคำ  ที่ใช้มากมี 2 คำ คือ evaluation  และ  assessment     2 คำนี้มีความหมายต่างกัน  คือ
            evaluation  เป็นการประเมินตัดสิน  มีการกำหนดเกณฑ์ชัดเจน (absolute criteria)  เช่น ได้คะแนนร้อยละ 80 ขึ้นไป ตัดสินว่าอยู่ในระดับดี  ได้คะแนนร้อยละ 60 – 79  ตัดสินว่าอยู่ในระดับพอใช้  ได้คะแนนไม่ถึงร้อยละ 60  ตัดสินว่าอยู่ในระดับควรปรับปรุง  evaluation  จะใช้กับการประเมินการดำเนินงานทั่วๆ ไป  เช่น  การประเมินโครงการ (Project Evaluation)  การประเมินหลักสูตร (Curriculum Evaluation)
            assessment  เป็นการประเมินเชิงเปรียบเทียบ  ใช้เกณฑ์เชิงสัมพันธ์ (relative criteria) เช่น เทียบกับผลการประเมินครั้งก่อน  เทียบกับเพื่อนหรือกลุ่มใกล้เคียงกัน assessment  มักใช้ในการประเมินผลสัมฤทธิ์ เช่น ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  การประเมินตนเอง  (Self Assessment)

หลักสูตรอิงมาตรฐาน (Standards-based curriculum)




            หมายถึง หลักสูตรที่มีมาตรฐานเป็นเป้าหมายในการพัฒนาผู้เรียน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้กำหนดมาตรฐานการเรียนรู้ซึ่งเป็นคุณภาพที่คาดหวังให้เกิดขึ้นในตัวผู้เรียน ดังนั้น การพัฒนาหลักสูตรตลอดแนวตั้งแต่ระดับชาติ ระดับท้องถิ่น ระดับสถานศึกษา ตลอดจนถึงระดับชั้นเรียน จะมีลักษณะเป็นหลักสูตรอิงมาตรฐาน คือ
ยึดมาตรฐานการเรียนรู้เป็นเป้าหมายและเป็นกรอบทิศทางในการกำหนดโครงสร้าง เนื้อหา กิจกรรมการเรียนการสอน ตลอดจนการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ กล่าวโดยรวมก็คือ การกำหนดมาตรฐานการเรียนรู้นำไปสู่การพัฒนาหลักสูตรอิงมาตรฐาน (Standards-based curriculum) การเรียนการสอนอิงมาตรฐาน (Standards-based instruction) และการประเมินผลอิงมาตรฐาน (Standards-based assessment)

S : การประเมินอิงมาตรฐาน (Standard Based Assessment) การประเมินอิงมาตรฐานการประเมินคุณภาพการเรียนรู้อิงมาตรฐานโดยใช้แนวคิดพื้นฐานโครงสร้างการสังเกตผลการเรียนรู้รวมถึงมาตรฐานการประเมินคุณภาพภายในและประเมินคุณภาพภายนอก
          มาตรฐานการมีความสำคัญอย่างยิ่งในชั้นเรียนมาตรฐานเป็นตัวกระตุ้นการเรียนการสอนที่ประสบผลดีที่สุดสำหรับผู้สอนที่มีความสามารถสูงสุดและผู้สอนการสอนเทียบกับมาตรฐานจะพบว่าการสอนตอบสนองต่อมาตรฐานเพื่อความชัดเจนผู้สอนต้องตอบคำถามเรื่องการเรียนการสอนกับมาตรฐานดังนี้
          ใครกำลังสอนมาตรฐานใดเพื่อตอบคำถามว่าใครสอนไม่ได้ทานอะไรไม่ใช่ใครสอนหัวข้อใด
          ใครประเมินผลมาตรฐานใดบ้าง วิธีใด เพื่อตอบคำถามว่าใครประเมินมาตรฐานใดโดยวิธีใด
          การนำมาตรฐานมาใช้เพื่อกำหนดว่าเนื้อหาและทักษะใดสัมพันธ์กับมาตรฐานในการเชื่อมโยงระหว่างเนื้อหาและทักษะกับมาตรฐานอาจไม่เพียงพอส่งผลให้มาตรฐานบางอย่างถูกละเลยเมื่อมีข้อมูลว่ามาตรฐานใดบ้างที่จะนํามาใช้ในการสอนและการประเมินผลแล้วก็จะช่วยให้ตัดสินใจได้ว่าควรจะสอนและประเมินผลอะไรในระดับชั้นใดและวิชาใดโดยวิธีใดสามารถระบุได้ชัดเจนว่ามาตรฐานให้นำมาใช้ในการสอนและการประเมินผลอย่างไรการเริ่มต้นด้วยมาตรฐานในการสอนและการประเมินผลที่ใช้อยู่ในชั้นเรียนหรือรายวิชานั้นๆเป็นสิ่งที่ง่ายที่สุดจากนั้นจึงเคลื่อนไปสู่มาตรฐานที่ยังไม่ได้สอนหรือการประเมินผลต่อไปและขั้นตอนสุดท้ายเป็นการทบทวนเพื่อตัดสินใจตอบคำถามดังต่อไปนี้
          แผนจัดการเรียนรู้นี้ดีที่สุดหรือไม่ถ้าไม่จะต้องปรับปรุงเปลี่ยนแปลงในเรื่องใดบ้างมีสิ่งใดบ้างที่ถูกมองข้ามไปหรือมีมากเกินไป
          ผู้เรียนมีโอกาสเรียนรู้อย่างเพียงพอและแสดงพฤติกรรมที่สอดคล้องกับมาตรฐานหรือไม่
          สอนย้ำแต่ละมาตรฐานบ่อยๆมากเพียงพอที่จะทำให้เกิดการเรียนรู้ที่ลุ่มลึกขึ้นหรือไม่
มาตรฐานเป็นการจัดการเรียนการสอนที่สอดคล้องต่อความคาดหวังเพื่อการเรียนรู้ของผู้เรียนมาตรฐานทำให้เกิดโครงสร้างซึ่งนำไปสู่การสร้างเป็นหลักสูตรท้องถิ่นที่สมบูรณ์แบบและลุ่มลึกได้มาตรฐานระดับชาติและระดับท้องถิ่นเป็นแหล่งวิทยาการที่สำคัญสำหรับผู้สอนคำถามที่ผู้สอนจะต้องให้ความสำคัญคือ
          มาตรฐานใดบ้างที่มุ่งเน้นการเรียนรู้ของผู้เรียน
          ผู้เรียนแต่ละคนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในทุกมาตรฐานหรือไม่
          การนำเสนอมาตรฐานอยู่ในรูปแบบที่เป็นประโยชน์และผู้สอนสามารถนำไปใช้ได้หรือไม่
          เราจะนำมาตรฐานไปใช้ในชั้นเรียนและโรงเรียนทั่วทั้งเขตพื้นที่การศึกษาได้อย่างไร

การประเมินคุณภาพภายนอก


            การประเมินคุณภาพภายนอกคือการประเมินคุณภาพการจัดการศึกษาการติดตามการตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาซึ่งกระทำโดยสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาองค์การมหาชนสมศหรือผู้ประเมินภายนอกที่ได้รับการรับรอง โดยผู้ประเมินภายนอกที่ได้รับการรับรองจากสมศเพื่อมุ่งให้มีการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาให้ดียิ่งขึ้น
ความสำคัญของการประเมินคุณภาพภายนอก
การประเมินคุณภาพภายนอกมีความสำคัญและมีความหมายต่อสถานศึกษาหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสาธารณชนดังต่อไปนี้
          1 เป็นการส่งเสริมให้สถานศึกษาพัฒนาเข้าสู่เกณฑ์มาตรฐานและพัฒนาตนเองให้เต็มตามศักยภาพอย่างต่อเนื่อง
          2 เพิ่มความมั่นใจและคุ้มครองประโยชน์ให้ผู้รับบริการทางการศึกษาให้มั่นใจได้ว่าสถานศึกษาจัดการศึกษามุ่งสู่คุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาที่เน้นให้ผู้เรียนเป็นคนดีมีความสามารถและมีความสุขเพื่อเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม
          3 สถานศึกษาและหน่วยงานที่กำกับดูแลเช่นคณะกรรมการสถานศึกษาหน่วยงานต้นสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษารวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและชุมชนท้องถิ่นมีข้อมูลที่จะช่วยตัดสินใจในการวางแผนและดำเนินการเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาให้เป็นไปในทิศทางที่ต้องการเรียนรู้เป้าหมายตามที่กำหนด
          4 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระดับนโยบายมีข้อมูลสำคัญในภาพรวมเกี่ยวกับคุณภาพและมาตรฐานของสถานศึกษาทุกระดับทุกสังกัดเพื่อใช้เป็นแนวทางในการกำหนดนโยบายทางการศึกษาและการจัดสรรงบประมาณเพื่อการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ
สำนักงานรับรองมาตรฐานการประเมินคุณภาพการศึกษาองค์การมหาชนกำหนดหลักการสำคัญของการประเมินคุณภาพภายนอกซึ่งมีหลักการสำคัญ 5 ประการดังต่อไปนี้
          1 เป็นการประเมินเพื่อมุ่งให้มีการพัฒนาคุณภาพการศึกษาไม่ได้มุ่งเน้นเรื่องการตัดสินการจับผิดหรือการให้คุณให้โทษ
          2 ยึดจากความเที่ยงตรงเป็นธรรมมีหลักฐานข้อมูลตามสภาพความเป็นจริงและมีความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้  
3 มุ่งเน้นในเรื่องการส่งเสริมและประสานงานในลักษณะกัลยาณมิตรมากกว่าการกำกับควบคุม
          4 ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการประเมินคุณภาพและการพัฒนาการจัดการศึกษาจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
          5 ทุ่มสร้างความสมดุลระหว่างเสรีภาพทางการศึกษากับจุดมุ่งหมายและหลักการศึกษาของชาติตอนที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพศ. 2542 ให้เอกภาพเชิงนโยบายแต่ยังคงมีความหลากหลายในทางปฏิบัติโดยสถาบันสามารถกำหนดเป้าหมายเฉพาะและพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้เป็นตามสภาพของสถาบันและผู้เรียน
วัตถุประสงค์ของการประเมินคุณภาพภายนอกสถานศึกษา
การประเมินสภาพภายนอกมีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้(สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาองค์การมหาชน 2550)
1 เพื่อตรวจสอบยืนยันสภาพดีในการดำเนินงานของสถานศึกษาและประเมินคุณภาพการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาที่กำหนด
2 เพื่อให้ได้ข้อมูลซึ่งจะช่วยสะท้อนให้เห็นจุดเด่นจุดที่ควรพัฒนาของสถานศึกษาสาเหตุของปัญหาและเงื่อนไขของความสำเร็จ
          3 เพื่อช่วยเสนอแนะแนวทางปรับปรุงประเภทหนังสือภาพการศึกษาแก่สถานศึกษาและหน่วยงานต้นสังกัด
          4 เพื่อส่งเสริมให้สถานศึกษามีการพัฒนาคุณภาพการประกันคุณภาพภายในอย่างต่อเนื่อง
5 เพื่อรายงานการประเมินคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาต่อหน่วยงานเกี่ยวข้องและสาธารณชน
ผู้ประเมินภายนอก หมายถึงบุคคลหรือหน่วยงานที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนดและได้รับการรับรองจากสมศให้ทำการประเมินคุณภาพภายนอก
มาตรฐานการศึกษา คือข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะคุณภาพที่พึงประสงค์และเป็นเป้าหมายที่ต้องการให้เกิดขึ้นในสถานศึกษาทุกแห่งเพื่อใช้เป็นหลักในการเทียบเคียงสำหรับการส่งเสริมกำกับดูแลตรวจสอบประเมินผลและการประกันคุณภาพการศึกษา
4 การประเมินคุณภาพภายใน
clark (2005:2)กล่าวว่า การประเมินคุณค่าภายในโปรแกรมการเรียนการสอนวิธีการประเมินที่นำไปใช้ในการตัดสินคุณค่าของโปรแกรมการเรียนการสอนในระหว่างดำเนินการถ้าประเมินเน้นที่กระบวนการประเมินคุณภาพภายในมีจุดมุ่งหมายเพื่อตรวจสอบแก้ไขและปรับปรุงสื่อการเรียนการสอนให้เกิดประสิทธิผลยิ่งขึ้นและนำไปใช้กับผู้เรียนโดยทั่วไปในการประเมินจัดเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ที่เกี่ยวข้องทุกคนโดยกำหนดจุดมุ่งหมายคือการจัดการเรียนรู้นั้นหรือการเรียนการสอนนั้นประสบผลสำเร็จดังที่ตั้งใจไว้หรือไม่ข้อมูลต้องถูกเก็บรวบรวมอย่างต่อเนื่องเพื่อตรวจสอบว่าการจัดการเรียนรู้หรือการจัดการชั้นเรียนและพัฒนาผู้เรียนได้จริงถ้าพบว่าผู้เรียนส่วนใหญ่มีปัญหาในการเรียนการสอนแก้ไขกันอาจสรุปได้ว่าการจัดการเรียนรู้หรือเกรียนการสอนนั้นมีบางอย่างที่ไม่เป็นไปตามจุดมุ่งหมายดังนั้นการประเมินคุณภาพภายในเป็นการประเมินเพื่อปรับปรุงดำเนินการได้ทันท่วงทีการประเมินนี้จะมีบทบาทสำคัญต่อความสำเร็จของการจัดการเรียนการสอน  Kemp : 1971เสนอแนะการประเมินไว้ดังนี้
1 ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ในระดับที่เป็นที่ยอมรับตามจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้หรือไม่ผู้เรียนมีข้อบกพร่องใดบ้าง
          2 ผู้เรียนมีความสามารถในการใช้ความรู้หรือทักษะในระดับที่เป็นที่ยอมรับหรือไม่ผู้เรียนมีข้อบกพร่องใดบ้าง
          3 ผู้เรียนใช้เวลานานเพียงใดเพื่อให้เกิดประสบการณ์การเรียนรู้และเป็นที่ยอมรับของผู้สอนหรือไม่
          4 กิจกรรมต่างๆเหมาะสมสำหรับผู้เรียนและผู้สอนหรือไม่
          5 วัสดุต่างๆสะดวกและง่ายต่อการติดตั้งการหยิบการใช้หรือการเก็บรักษาหรือไม่
          6  ผู้เรียนมีปฏิกิริยาต่อวิธีการเรียนการสอนกิจกรรมวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้และวิธีการประเมินผลอย่างไรบ้าง
          7 ข้อสอบเพื่อการประเมินตนเองและข้อสอบหลังการเรียนแล้วใช้วัดจุดมุ่งหมายของการเรียนได้หรือไม่
          8 ควรมีการปรับปรุงแก้ไขโปรแกรมในส่วนใดบ้างเพื่อหารูปแบบและอื่นๆ
การประเมินภายนอก
          clark (2005:2) กล่าวว่าประเมินคุณภาพภายนอกเป็นการประเมินหลังการจัดการเรียนรู้หรือการจัดการเรียนการสอนผู้นำผลการประเมินเพื่อใช้ในการตัดสินคุณค่าของโปรแกรมการเรียนการสอนให้ความสำคัญที่ผลลัพธ์โดยสรุปการประเมินเพื่อศึกษาประสิทธิผลของระบบโดยรวมเป็นการประเมินที่ตอบคำถามว่าการเรียนรู้หรือการจัดการเรียนการสอนประสบความสำเร็จตามแผนที่วางไว้หรือไม่การออกแบบการเรียนการสอนตลอดจนการมีขั้นตอนใดที่ไม่เป็นไปตามขั้นตอนบ้างเพื่อนำไปเป็นข้อมูลสำหรับผู้ออกแบบการเรียนการสอนได้พัฒนาต่อไป Kemp :1971เสนอแนะแนวคิดการประเมินไว้ดังนี้
            1 จุดมุ่งหมายทั้งหมดได้รับการบรรลุผลในระดับใดบ้าง
          2 หลังจากการเรียนการสอนผ่านไปแล้วการปฏิบัติงานของผู้เรียนเกี่ยวกับการใช้ความรู้ทักษะและการสร้างเจตคติมีความเหมาะสมหรือไม่
3 การใช้วัสดุต่างๆง่ายต่อการจัดการสำหรับผู้เรียนจำนวนมากๆหรือไม่
4 สิ่งอำนวยความสะดวกกำหนดการและการนิเทศมีความเหมาะสมกับโปรแกรมหรือไม่มี
5 การระวังรักษาการหยิบการใช้เครื่องมือและวัสดุต่างๆ หรือไม่
6 วัสดุต่างๆที่เคยใช้แล้วถูกนำมาใช้อีกหรือไม่
7 ผู้เรียนมีเจตคติอย่างไรบ้างต่อวิชาที่เรียนวิธีการสอนกิจกรรมและเกี่ยวกับความสัมพันธ์ที่มีต่อผู้สอนและผู้เรียนคนอื่นๆ
การประกันคุณภาพภายนอก เป็นการประเมินคุณภาพการจัดการศึกษา  เพื่อให้มีการติดตามและตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา โดยคำนึงถึงความมุ่งหมาย หลักการ และแนวการจัดการศึกษาในแต่ละระดับ ซึ่งประเมินโดย สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) หรือเรียกชื่อย่อว่าสมศ.” พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่2) พ.ศ.2545 ได้กำหนดให้สถานศึกษาทุกแห่งต้องได้รับการประเมินคุณภาพภายนอกอย่างน้อย  1  ครั้ง  ในทุกรอบ  5  ปี  นับตั้งแต่การประเมินครั้งสุดท้าย และเสนอผลการประเมินต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสาธารณชน
                    รูปแบบและวิธีการประเมินคุณภาพภายนอกจะเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดโดยสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) ซึ่งมีหลักการสำคัญ 5 ประการ ดังต่อไปนี้
                    1) เป็นการประเมินเพื่อมุ่งใหมีการพัฒนาคุณภาพการศึกษา  ไม่ได้มุ่งเน้นเรื่องการตัดสิน  การจับผิด หรือการให้คุณ ให้โทษ
                    2) ยึดหลักความเที่ยงตรง เป็นธรรม โปร่งใส มีหลักฐานข้อมูลตามสภาพความเป็นจริง(evidence– based) และมีความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้(accountability)
                    3) มุ่งเน้นในเรื่องการส่งเสริมและประสานงานในลักษณะกัลยาณมิตรมากกว่าการกำกับควบคุม
                    4) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการประเมินคุณภาพและการพัฒนาการจัดการศึกษาจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
                    5) มุ่งสร้างความสมดุลระหว่างเสรีภาพทางการศึกษากับจุดมุ่งหมายและหลักการศึกษาของชาติตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ให้เอกภาพเชิงนโยบาย แต่ยังคงมีความหลากหลายในทางปฏิบัติ โดยสถาบันสามารถกำหนดเป้าหมายเฉพาะ และพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้เต็มตามศักยภาพของสถาบันและผู้เรียน

ปัญหาการวัดและประเมินผลการเรียนรู้


            การวัดและประเมินผลการเรียนรู้เป็นกระบวนการที่ครูผู้จัดการเรียนการสอนต้องดำเนินการควบคู่ไปกับกระบวนการเรียนการสอนให้มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงและสอดคล้องกันซึ่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพุทธศักราช 2542 ได้กล่าวถึงการวัดและประเมินผลการเรียนโดยพิจารณาจากการพัฒนาการของผู้เรียน ความประพฤติ การสังเกตพฤติกรรมการเรียนการร่วมกิจกรรม การขาดสอบ ควบคู่ไปกับกระบวนการเรียนการสอนตามความเหมาะสมของแต่ละระดับและรูปแบบการศึกษา การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ เป็นกระบวนการที่ให้ครูผู้สอนใช้พัฒนาคุณภาพผู้เรียนเพราะจะช่วยให้ได้ข้อมูลสารสนเทศที่แสดงพัฒนาการ ความก้าวหน้าและความสำเร็จทางการเรียนของผู้เรียน รวมทั้งข้อมูลที่จะเป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนาและเรียนรู้อย่างเต็มศักยภาพ (หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2544: 24)หลักสูตรพื้นฐานสองประการคือ การประเมินเพื่อพัฒนาผู้เรียนและเพื่อตัดสินผลการเรียนในการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียนให้ประสบผลสำเร็จนั้น ผู้เรียนจะต้องได้รับการพัฒนาและประเมินตามตัวชี้วัด เพื่อให้บรรลุตามมาตรฐานการเรียนรู้ที่สะท้อนสมรรถนะสำคัญและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนเป็นเป้าหมายหลักในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ในทุกระดับ ไม่ว่าจะเป็นระดับชั้นเรียน ระดับสถานศึกษา ระดับเขตพื้นที่การศึกษาและระดับชาติ การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ เป็นกระบวนการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนโดยใช้ผลการประเมินเป็นข้อมูลและสารสนเทศที่แสดงพัฒนาการความก้าวหน้าและความสำคัญทางการเรียนของผู้เรียนตลอดจนข้อมูลซึ่งประโยชน์ต่อการส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดพัฒนาและเรียนรู้อย่างเต็มตามศักยภาพ (หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551: 23) จากข้อความตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ 2542, หลักสูตรขั้นพื้นฐาน 2551 สรุปได้ว่า การวัดและประเมินผลการเรียนรู้เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการจัดการเรียนการสอน การจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพต้องมีความเชื่อมโยงระหว่างผลการเรียนรู้

AI


           à¸œà¸¥à¸à¸²à¸£à¸„้นหารูปภาพสำหรับ ai คืออะไร

            ปัญญาประดิษฐ์ หรือที่เรารู้จักกันในชื่อ AI คือ การทำให้คอมพิวเตอร์มีความสามารถคล้ายกับมนุษย์ หรือเลียนแบบพฤติกรรมมนุษย์เลยก็ว่าได้ เป็นซอฟต์แวร์ที่ถูกใช้กับคอมพิวเตอร์ เพื่อให้มันสามารถคิดเองได้ มีสติปัญญา และจัดการทุกอย่างได้ด้วยตัวเอง ซึ่งแตกต่างจากคอมพิวเตอร์ปกติที่มนุษย์ต้องเป็นคนควบคุม และด้วยความอัจฉริยะซะจนน่าทึ่งนี่แหละครับ ที่ทำให้มันถูกเรียกว่า ปัญญาประดิษฐ์
            AI นั้นเป็นเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่นักพัฒนาทั้งโลกกำลังให้ความสนใจ และจับตามอง เนื่องจากเป็นการเข้ามาที่มีส่วนทำให้โลกทั้งใบเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ถึงแม้ทุกวันนี้ปัญญาประดิษฐ์จะยังไม่สามารถคิดอ่านและทำทุกอย่างได้ด้วยตัวเองทั้งหมด และยังคงต้องอาศัยมนุษย์ในการป้อนข้อมูลต่างๆ หรือใส่สูตร เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่น่าทึ่ง แต่ในอนาคตเราจะได้เห็นวิวัฒนาการของเทคโนโลยีนี้ที่ช่วยให้ชีวิตเราสะดวกสบายได้มากกว่าเดิมแน่นอน
             การทำงานของ AI คือ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ถูกพัฒนาให้มีตรรกะการคิดเป็นของตัวเอง เป็นตัวแทนของมนุษย์ที่มีความชาญฉลาด สามารถทำงานหรือใช้เหตุผลในการแก้ไขปัญหาในด้านความเป็นเหตุเป็นผล โดยเชาว์ปัญญานั้นสามารถแสดงเหตุผล การเรียนรู้ การวางแผนหรือนำเสนอความสามารถอื่น ๆ ได้ด้วย เช่น การประมวลผลจากข้อมูลที่เราให้ไป หรือการแสดงผลอัตโนมัติจากข้อมูลที่มีอยู่ เรียกได้ว่าเลียนแบบโครงข่ายประสาทของสมองของมนุษย์เลยทีเดียว ซึ่งในปัจจุบันการทำงานของ  AI มีความแม่นยำสูงมาก จนแทบไม่พบข้อมูลผิดพลาด ทั้งยังสามารถทำงานได้ในระยะเวลาที่กำหนด และทำได้ตลอดเวลา 24 ชม. 7 วันเลยทีเดียว

สรุปแล้ว AI จะเข้ามามีบทบาทกับคนทั้งโลกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะมันคือสิ่งประดิษฐ์ที่สุดยอดที่สุดในประวัติศาสตร์มนุษย์
Acting Humanly : การกระทำคล้ายมนุษย์ เช่น
      - สื่อสารกับมนุษย์ได้ด้วยภาษาที่มนุษย์ใช้ เช่น ภาษาอังกฤษ เป็นการประมวลผลภาษาธรรมชาติ (natural language processing) อย่างหนึ่ง เช่น เพื่อน ๆ ใช้เสียงสั่งให้คอมพิวเตอร์พิมพ์เอกสารให้
      - มีประสาทรับสัมผัสคล้ายมนุษย์ เช่นคอมพิวเตอร์วิทัศน์ (computer vision) คอมพิวเตอร์มองเห็น รับภาพได้โดยใช้อุปกรณ์รับสัญญาณภาพ (sensor)
      - หุ่นยนต์ช่วยงานต่าง ๆ เช่น ดูดฝุ่น เคลื่อนย้ายสิ่งของ
      - machine learning หรือคอมพิวเตอร์เกิดการเรียนรู้ได้ โดยสามาถตรวจจับรูปแบบการเกิดของเหตุการณ์ใด ๆ แล้วปรับตัวสู่สิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไปได้

       Thinking Humanly : การคิดคล้ายมนุษย์ ก่อนที่จะทำให้เครื่องคิดอย่างมนุษย์ได้ ต้องรู้ก่อนว่ามนุษย์มีกระบวนการคิดอย่างไร ซึ่งการวิเคราะห์ลักษณะการคิดของมนุษย์เป็นศาสตร์ด้าน cognitive science เช่น ศึกษาโครงสร้างสามมิติของเซลล์สมอง การแลกเปลี่ยนประจุไฟฟ้าระหว่างเซลล์สมอง วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงทางเคมีไฟฟ้าในร่างกายระหว่างการคิด ซึ่งจนถึงปัจจุบันเราก็ยังไม่รู้แน่ชัดว่า มนุษย์เรา คิดได้อย่างไร
       Thinking rationally : คิดอย่างมีเหตุผล หรือคิดถูกต้อง โดยใช้หลักตรรกศาสตร์ในการคิดหาคำตอบอย่างมีเหตุผล เช่น ระบบผู้เชี่ยวชาญ
       Acting rationally : กระทำอย่างมีเหตุผล เช่น agent (agent เป็นโปรแกรมที่มีความสามารถในการกระทำ หรือเป็นตัวแทนในระบบอัตโนมัติต่าง ๆ ) สามารถกระทำอย่างมีเหตุผลคือ agent ที่กระทำการเพื่อบรรลุเป้าหมายที่ได้ตั้งไว้ เช่น agent ในระบบขับรถอัตโนมัติที่มีเป้าหมายว่าต้องไปถึงเป้าหมายในระยะทางที่สั้นที่สุด ต้องเลือกเส้นทางที่ไปยังเป้าหมายที่สั้นที่สุดที่เป็นไปได้จึงจะเรียกได้ว่า agent กระทำอย่างมีเหตุผล อีกตัวอย่างเช่น agent ในเกมหมากรุกมีเป้าหมายว่าต้องเอาชนะคู่ต่อสู้ ต้องเลือกเดินหมากที่จะทำให้คู่ต่อสู้แพ้ให้ได้ เป็นต้น

IOT




  Internet of Things (IoT) คือ "อินเตอร์เน็ตในทุกสิ่ง" หมายถึง การที่อุปกรณ์ต่างๆ สิ่งต่างๆ ได้ถูกเชื่อมโยงทุกสิ่งทุกอย่างสู่โลกอินเตอร์เน็ต ทำให้มนุษย์สามารถสั่งการควบคุมการใช้งานอุปกรณ์ต่างๆ ผ่านทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เช่น การเปิด-ปิด อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า (การสั่งการเปิดไฟฟ้าภายในบ้านด้วยการเชื่อมต่ออุปกรณ์ควบคุม เช่น มือถือ ผ่านทางอินเตอร์เน็ต) รถยนต์ โทรศัพท์มือถือ เครื่องมือสื่อสาร เครื่องมือทางการเกษตร อาคาร บ้านเรือน เครื่องใช้ในชีวิตประจำวันต่างๆ ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เป็นต้น



               IoT มีชื่อเรียกอีกอย่างว่า M2ย่อมาจาก Machine to Machine คือเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตที่เชื่อมต่ออุปกรณ์กับเครื่องมือต่างๆ เข้าไว้ด้วยกัน
            เทคโนโลยี IoT มีความจำเป็นต้องทำงานร่วมกับอุปกรณ์ประเภท RFID และ Sensors ซึ่งเปรียบเสมือนการเติมสมองให้กับอุปกรณ์ต่างๆ ที่ขาดไม่คือการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต เพื่อให้อุปกรณ์สามารถรับส่งข้อมูลถึงกันได้ เทคโนโลยี IoT มีประโยชน์ในหลายด้าน แต่ก็มาพร้อมกับความเสี่ยง เพราะหากระบบรักษาความปลอดภัยของอุปกรณ์ และเครือข่ายอินเตอร์เน็ตไม่ดีพอ ก็อาจทำให้มีผู้ไม่ประสงค์ดีเข้ามาขโมยข้อมูลหรือละเมิดความเป็นส่วนตัวของเราได้ ดังนั้นการพัฒนา IoT จึงจำเป็นต้องพัฒนามาตรการ และระบบรักษาความปลอดภัยไอทีควบคู่กันไปด้วย


                      Big Data คือ ข้อมูลขนาดมหาศาลที่เกิดขึ้น ไม่มีโครงสร้างชัดเจน หนึ่งในตัวอย่างที่เราจะเห็นได้ง่ายคือข้อมูลจากยุคโซเชียล ผู้ใช้เป็นคนสร้างขึ้นมา ซึ่งนอกจากเนื้อหาในโลกออนไลน์แล้ว ยังมีข้อมูลอีกประเภทหนึ่งคือ   ข้อมูลจากอุปกรณ์ที่เราใช้หรือสวมใส่ เช่น สายรัดวัดชีพจรตอนออกกำลังกาย ตัวอย่างเช่น แบรนด์ไนกี้ตั้งโจทย์ขึ้นมาว่า เราจะรู้ได้อย่างไรว่าลูกค้าซื้อรองเท้าแล้วนำไปใส่วิ่งจริง แต่ตอนนี้พิสูจน์ได้แล้วเพราะว่าไนกี้ใช้ IoT กับสินค้าของเขา ยิ่งไปกว่านั้นตอนนี้ลูกค้าไม่ได้ผลิตข้อมูลที่นำไปสู่ Big Data จากการโพสต์ คอมเมนต์ กดไลค์ หรือแชร์เพียงอย่างเดียว แต่เกิดจากกิจกรรมในไลฟ์สไตล์ที่ธุรกิจหรือแบรนด์นำไปจับคู่กับสินค้า แล้วสร้างเป็นเนื้อหาที่โดนใจผู้รับสารขึ้นมา สิ่งสำคัญคือ ข้อมูลพวกนี้บอกว่ามีอะไรเกิดขึ้นได้อย่างเดียว สิ่งสำคัญกว่าคือ ธุรกิจ องค์กร และแบรนด์ต่างๆ จะเปลี่ยนข้อมูลพวกนี้เป็นประโยชน์ได้อย่างไร ทำอย่างไรข้อมูลจึงจะสามารถบอกได้ว่า ทำไมสิ่งต่างๆเหล่านั้นถึงเกิดขึ้น’ จุดนี้จึงทำให้เรารู้จักความต้องการที่แท้จริงของผู้บริโภค (Consumer Insight) และรู้ว่าต้องทำอย่างไรให้ธุรกิจหรือบริการของเราจะมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

แบบจำลองการเลือกสื่อ


          แบบจำลองการเลือกสื่อการเรียนการสอนมีหลายแบบ สำหรับการพิจารณาแต่ละแบบจะมีวิธีการเลือกสื่อที่ต่างกัน สิ่งที่น่าสังเกตคอ แต่ละแบบมีความต่างกันอย่างไร มีอะไรเป็นนัยของความแตกต่าง
          แบบจำลองของวิลเลี่ยม ออลเลน
          ในแบบจำลองของวิลเลี่ยม ออลเลน (William Allen) ผู้ออกแบบการเรียนการสอนต้องตัดสินใจเกี่ยวกับการจำแนกจุดประสงค์ และการจำแนกความสามารถสูงสุดของสื่อการเรียนการสอนที่จะพลิกแพลงให้เข้ากับจุดประสงค์ ออลเลน ได้ตรวจสอบประสิทธิผล สร้างตารางแจกแจงสองทาง
          แบบจำลองของเยอร์ลาชและอีลี
          ในแบบจำลองของเยอร์ลาชและอีลี (Gerlach and Ely) เป็นที่รู้จักกันในปีคศ 1971 ในตำราที่ชื่อว่าการสอนและสื่อ เยอร์ลาชและอีลี ได้นำเสนอเกณฑ์ ซึ่งสามารถประยุกต์ใช้ในการเลือกสื่อการเรียนการสอนหลังจากที่ระบุจุดประสงค์และระบุพฤติกรรมความพร้อมที่จะรับการสอนแล้วเกณฑ์ดังกล่าวประกอบด้วยประการที่ 1 ความเหมาะสมทางปัญญา(สื่อสามารถส่งผ่านตัวกระตุ้นตามเจตนารมณ์ของจุดประสงค์หรือไม่) ประการที่2 ระดับของความเข้าใจ(สื่อทำให้ผู้เรียนเข้าใจหรือไม่) ประการที่3 ราคาประการที่ 4 ประโยชน์(เครื่องมืออุปกรณ์วัสดุมีประโยชน์หรือไม่)



การขยายขอบเขตการเรียนรู้ด้วยการวิจัยการเรียนรู้
            ผู้สอนสามารถปรับปรุงความสามารถในด้านวิชาการของผู้เรียนด้วยการวิจัยการวิจัยการเรียนรู้จะช่วยให้ได้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจว่าเงื่อนไขอะไรที่ทำให้มีการเรียนรู้เพิ่มขึ้นในสถานการณ์ที่คล้ายคลึงกับที่ตนเผชิญอยู่ นักวิทยาศาสตร์พฤติกรรมใช้วิธีการในการศึกษาพฤติกรรมด้วยการสังเกตบุคคลในสถานที่กรณีที่หลากหลายด้วยการตั้งคำถามลึกๆเกี่ยวกับประสบการณ์มีการสำรวจประชากรกลุ่มใหญ่เพื่อที่จะตัดสินใจว่าประชากรเหล่านั้นชอบหรือไม่ชอบนักออกแบบสร้างและใช้แบบทดสอบสำหรับความสามารถและคุณลักษณะของคนจำนวนมากแต่สิ่งที่สำคัญที่สุดและเป็นการให้ผลต่อการศึกษาการเรียนรู้คือการทดลองซึ่งนักวิจัยระมัดระวังและควบคุมการศึกษาสาเหตุและผลที่ได้รับ
          แบบมโนทัศน์ของการวิจัยเกี่ยวกับการออกแบบการเรียนการสอนเนื้อหาส่วนใหญ่ของงานวิจัยที่เกี่ยวกับตัวแปรการออกแบบการเรียนการสอนต้องไม่กว้างเกินไปโดยปราศจากของการจัดการ ริชชี ได้จัดกลุ่มงานวิจัยเกี่ยวกับตัวแปรการเรียนการสอนเป็น 4 กลุ่มใหญ่คือผู้เรียนเนื้อหาวิชาสิ่งแวดล้อมและระบบการสอนการออกแบบการเรียนการสอนขึ้นอยู่กับธรรมชาติของความชี้เฉพาะในแต่ละกลุ่มอย่างหลากหลาย

ตารางที่ 21 ตัวอย่างของการปฏิบัติเชิงการเปลี่ยนแปลง

ข้อมูลป้อนกลับ Feedback  อีกวิธีการหนึ่งที่จะทำให้การผิดพลาดลดลงคือการให้ผู้เรียนได้รับรู้ที่ตอบสนองนั้นไม่ถูกต้องการรู้ว่าถูกหรือผิดจะช่วยให้ผู้เรียนแก้ไขการกระทำให้ถูกต้องระหว่างทดลองและเน้นไปที่ส่วนของพนักงานที่ต้องการกลั่นกรอง
          การเรียนรู้จากสื่อเคลื่อนที่
          เทคโนโลยีแบบเคลื่อนที่จะช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้แบบพลวัตที่สร้างสรรค์การเรียนรู้แบบมีปฏิสัมพันธ์กันภายใต้สิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียนในยุคที่ความเจริญก้าวหน้าของสื่อสารไร้สายนี้อุปกรณ์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ประเภทโน๊ตบุ๊คคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือรวมถึงแท็บเล็ต กล้องถ่ายภาพดิจิตอล เครื่องเล่น MP3 หรือ MP4 และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆอีกมากมายในที่นี้เขาเรียกว่าสื่อเคลื่อนที่สามารถนำมาใช้เพื่อช่วยให้ผู้เรียนได้ตอบสนองได้รวดเร็วมีปฏิสัมพันธ์แบบโต้ตอบให้ประสบการณ์ที่ดีเช่นในการสอนวิชาภาษาต่างประเทศสามารถแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ผ่านสื่อเคลื่อนที่ดังกล่าวนี้ทั้งนี้ผู้เรียน ยังใช้ประโยชน์ในการส่งอีเมลหรือใช้ประโยชน์เพื่อการนันทนาการได้อีกด้วย

การวัดและประเมินผลทางการศึกษา

ความหมายของคำว่า การประเมินผล ( Evaluation)  ได้มีผู้ให้ความหมายไว้ ดังนี้             ชวาล แพรัตกุล  (2516 : 140) กล่าวว่า การประเมินผล ...